8 Shell Commands ที่ Developers ควรรู้จักเอาไว้

22-พ.ย.-23

คัมภีร์เทพ IT

การมีพื้นฐาน Programming ที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญของ Software Engineer ที่ดี การรู้วิธีใช้งาน Bash จะช่วยให้คุณอยู่ในทำงานได้ราบรื่นยิ่งขึ้น และในบทความนี้ เราจะมาดูการใช้งาน Bash Command กัน ด้วย 8 Shell Commands ที่ Developers ควรรู้จักเอาไว้

1. คำสั่งสำหรับการวน Loop

คุณไม่ควรรีบตัดสินใจว่า จะเลือกใช้ภาษา Programming ใดก็ตามเพียงแค่เพื่อต้องการใช้การวน Loop หากคุณมี Output ที่ต้องการดึงออกมาเป็นระยะหรือจำเป็นต้องวนซ้ำสำหรับข้อมูลบางอย่าง คุณสามารถทำสิ่งนี้ใน Bash ได้

คำด้านบนนี้ จะแสดงให้คุณเห็นถึงวิธีการสร้าง Infinite While Loop อย่างง่าย โดยใช้ Code สั้น ๆ ใน Shell คุณเพียงแค่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกันด้วย ; เพียงแค่นี้ก็เสร็จแล้ว อย่าลังเลที่จะเปลี่ยนคำสั่ง Echo ด้วยสิ่งที่คุณต้องการจะ Execute และปรับ Sleep Timer ให้เหมาะสม

เมื่อคุณ Run สิ่งนี้ คุณจะเห็นวันที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ละวินาทีบน Terminal ของคุณ

2. คำสั่ง Tee

คำสั่ง tee สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องนำ Code หลาย ๆ บรรทัดไปใช้ในภาษาอื่นได้ โดย Utility เล็ก ๆ ที่มีประโยชน์ตัวนี้จะช่วยให้คุณสามารถ Input สิ่งที่ต้องการ, ส่งไปยัง File หรือคำสั่งอื่น จากนั้นก็สามารถนำพวกมันไปใช้ต่อในคำสั่งอื่น ๆ ได้ทันที

จากตัวอย่างด้านบนนี้ เราอยากได้ข้อความ “hello” จากคำสั่ง echo แล้วส่งต่อไปที่ไฟล์ foo.txt จากนั้นก็ส่งต่อไปยังคำสั่ง less เมื่อเสร็จแล้วคุณจะมีทั้งไฟล์ที่มี Output ที่ต้องการและแสดงบนหน้าจอ

3. ทำการบีบอัด File ที่ต้องการ

การย้าย Files และ Directories บน Command-Line ถือเป็นทักษะที่สำคัญ หากคุณกำลังทำงานบางอย่างและต้องการย้ายพวกมันระหว่าง Host ที่ต้องการหรือเพียงแค่ต้องการบีบอัด Files เพื่อจัดเก็บแบบ Offline คำสั่ง tar จะช่วยเหลือคุณในเรื่องนี้

จากคำสั่งและ Arguments ที่แสดงด้านบน จะเป็นการนำ Directory ไปบีบอัดลงใน tar.gz Archive ใหม่ และตอนนี้คุณก็สามารถย้ายไฟล์ของคุณไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก

4. นับสิ่งที่ต้องการ

ถ้าคุณอยากทราบว่า ในไฟล์มีกี่บรรทัด คุณสามารถใช้ wc Utility ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วมันย่อมาจาก " Word Count" แต่คุณสามารถใช้นับจำนวนของสิ่งต่าง ๆ ได้ รวมถึงจำนวนบรรทัดด้วย

จากตัวอย่างด้านบน จะ echo ข้อความ 4 บรรทัดลงในไฟล์ จากนั้นจะนับจำนวนบรรทัดโดยใช้ wc ซึ่งวิธีนี้จะมีประโยชน์มากหากคุณใช้งานกับจำนวนบรรทัดใน Log File หรือกรณีคุณต้องการทราบว่า มีการเขียนบรรทัดใหม่ลงในไฟล์ระหว่างที่ Process หรือไม่

5. การ Generate ตัวเลข

การ Generate Numbers ใน Bash นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ใช้ seq Utility โดยคำสั่งนี้จะ Print ตัวเลขตามลำดับออกมาเพื่อให้คุณนำไปใช้ใน Loops, Text Files หรืออะไรก็ตามที่ต้องการใช้รายการของตัวเลข

นอกจากนี้ คุณยังสามารถเปลี่ยนตัวคั่น (Separator) ให้เป็นอะไรก็ได้ ตามที่คุณต้องการ:

สิ่งนี้จะแสดงตัวเลขทั้งหมดที่คั่นด้วยช่องว่าง แทนที่จะเป็นการขึ้นบรรทัดใหม่ คุณยังสามารถใช้ echo เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ประเภทเดียวกันด้วยการใช้ .. Operator

6. การจัดการกับ SSH Keys ของคุณ

การมีความเข้าใจในพื้นฐานเกี่ยวกับ SSH Keys และวิธีการจัดการกับพวกมัน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การรู้ ssh-add และ ssh-agent Utilities มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

จากคำสั่งข้างต้น จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดังนี้:

  • คำสั่ง eval จะ Execute ssh-agent ให้กับคุณ และให้แน่ใจว่าคำสั่งยังทำงานอยู่
  • คำสั่ง ssh-add จะเพิ่ม Default SSH Key ของคุณ ซึ่งมันจะแสดง Password ของคุณ หากคุณตั้งมันไว้สำหรับ Default Key
  • คำสั่ง ssh-add -l จะแสดง Key ที่ถูกเพิ่มเข้ามาทั้งหมดภายใน Agent ของคุณ

Code เพียงบรรทัดเดียวที่เรียบง่ายนี้ จะช่วยให้แน่ใจว่า Agent ของคุณทำงานตามที่ควรจะเป็น และมี Keys ที่ถูกต้อง ครั้งถัดไปที่คุณต้องเชื่อมต่อกับบางสิ่งหรือ Pull Code บางส่วน คุณก็พร้อมที่จะใช้งานแล้ว

7. การหา Commands ก่อนหน้านี้

คุณจำคำสั่งที่คุณเคยใช้งานไปเมื่อนานมาแล้วได้ไหม หากคุณจำไม่ได้ เชื่อว่าคุณคงจะค้นหาจาก History ของคุณ

คำสั่ง history มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะมันจะแสดงรายการของคำสั่งทั้งหมดที่คุณ Run ใน Terminal Session พลังที่พลังแท้จริงของมันจะเกิดขึ้นเมื่อคุณใช้ Reverse Interactive Search หรือ grep เพื่อค้นหาคำสั่งก่อนหน้านี้

หากคุณต้องการดูคำสั่ง (และไม่สนใจที่จะดำเนินการใด ๆ เป็นพิเศษ) คุณสามารถใช้ grep ผ่าน history ได้ หากคุณต้องการค้นหาและ Execute เป็น Uniform Exercise เดียว, ให้ใช้ CTRL + R เพื่อทำการ Reverse Interactive Search ใน history ของคุณ และด้วย Hotkey นี้จะนำคุณเข้าสู่ Interactive Prompt ซึ่งเมื่อคุณเริ่มพิมพ์ มันจะแสดงคำสั่งที่ Match กันจาก history บน Console ของคุณ

8. การส่งผ่านหลาย ๆ คำสั่งได้ภายในคำสั่งเดียว

บางครั้ง Bash ก็มีอะไรแปลก ๆ มันอาจมีอะไรบางอย่างที่แทรกเข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง คำสั่งที่ซ้อน ๆ กัน อาจทำให้เกิดความสับสนในการ Track ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณส่งชุดคำสั่งไป-มาระหว่าง Binaries หรือ Services อื่น ๆ ซึ่งในช่วงเวลาแบบนี้ คุณสามารถ Evaluate ชุดคำสั่งให้เป็นหนึ่งเดียวได้โดยใช้คำสั่ง Bash

คำสั่งนี้จะรับ Text String ธรรมดาและจะประเมินมันเป็น Bash Syntax ตามปกติ ในมุมมองของ Program หรือ Shell environment ที่ทำหน้าที่ Run คำสั่งนี้ มันจะดูเหมือนกับคุณเพียงแค่ Run คำสั่งเดียวและส่ง Argument เพียงตัวเดียว แต่จริง ๆ แล้ว คุณกำลังสั่งให้ Bash ทำการ Parse  String ที่มีหลาย ๆ คำสั่ง แล้ว Run คำสั่งเหล่านั้นทั้งหมด

ที่มา: https://blog.devops.dev/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด