Mapped fierce e commerce competition thailand found interesting trends

05-Sep-17

IT Update


        จากการที่ Amazon ได้เข้ามาบุกตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โดยเลือกสิงคโปร์เป็นแห่งแรก) ทำให้ช่วงไตรมาส 3 เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาด E-commerce ไทย โดย iPrice (แหล่ง Shopping online ขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ “The Map of E-Commerce Thailand” ซึ่งได้เปรียบเทียบเว็บไซต์ E-commerce 38 แห่ง ในประเทศไทย โดยกรองข้อมูลตามหัวข้อต่างๆ เช่น Traffic ของเว็บไซต์, การดาวน์โหลด Application และ Follower ใน Social media โดยมีการรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย.60 ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างใน E-commerce ไทย และทำให้พบ 5 สิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้

 

 

  1. ผู้ครองแชมป์ด้าน Traffic และ Social media
    ถ้าวัดกันตาม Traffic ของเว็บไซต์ และผู้ติดตาม Social media แล้ว ผู้นำ E-commerce ในประเทศไทย คือเว็บไซต์ Lazada และถึงแม้จะเป็นผู้นำในแทบทุกด้าน แต่ Lazada ก็ต้องเตรียมรับมือกับคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Amazon ที่จะเข้ามาบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

    ข้อมูลด้าน Traffic และ Social media ของ Lazada

    - จำนวน Traffic ของเว็บไซต์สูงสุดในประเทศไทย (41,680,000 visits)
    - จำนวนการดาวน์โหลด App สูงสุด (50,000,000 downloads)
    - จำนวน followers บน LINE สูงที่สุด (18,894,000 followers)
    - จำนวน followers บน Facebook สูงที่สุด (17,539,000 followers)
    - จำนวน ลูกจ้าง บน Linkedin สูงสุด (656 employees)
    - มี followers บน Instagram อันดับที่ 6 (84,800 followers)

     

  2. เว็บไซต์ 10 อันดับแรกในไทย คือ เว็บไซต์เทคโนโลยีและทั่วไป
    ถ้าวัดกันตาม Traffic ของเว็บไซต์ เว็บไซต์ 10 อันดับแรกในไทยเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับเทคโนโลยีและเว็บไซต์ทั่วไป สอดคล้องกับข้อมูลที่คนไทยซื้อสินค้าแฟชั่นที่เป็นแบรนด์เฉพาะ (Individual brand) ใน Social media ซึ่งแบรนด์ดังกล่าวบน Social media ผลิตเสื้อผ้าที่มีสไตล์และอินเทรนด์มากขึ้นกว่าเว็บไซต์ E-commerce ส่วนเว็บไซต์ Konvy ดูจะเป็นเว็บไซต์แฟชั่นเพียงแห่งเดียวที่ติดอยู่ใน 10 อันดับเว็บไซต์กลุ่มนี้ Konvy คือเว็บขายสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางค์และ Skin care ที่ถือว่าทำการบ้านมาดีในการปิดช่องว่างในตลาดเครื่องสำอางค์และเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์ Skin care


     

  3. การแข่งขันที่ดุเดือด
    เว็บไซต์ e-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในไทยมีอยู่ 3 ราย คือ Lazada, 11street และ Shopee ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มาจากต่างชาติทั้งสิ้น ส่วนอันดับที่ 4 คือ Chilindo เว็บสัญชาติไทยเว็บเดียวที่โชว์ศักยภาพให้เห็นว่ามีความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติได้ด้วยบริการที่ไม่ซ้ำใคร โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าแบบประมูล

    สำหรับการเติบโตของ 11street ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นสิ่งที่คู่แข่งควรจับตามอง แม้เพิ่งเปิดตัวในไทยช่วงเดือน ก.พ. 60 ที่ผ่านมา แต่ด้วยการเป็นแบรนด์จากเกาหลีและมีสินค้าที่หลากหลาย ทำให้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนไทย นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารด้านการตลาดที่ดี เช่น การโฆษณาในสถานี BTS สยาม ทำให้คนซึมซับและรู้จักในแบรนด์ได้ดี ส่งผลให้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ Traffic ของเว็บไซต์ยังตาม Lazada แต่คุณ Jeon Hong Cheol (CEO ของ 11street) ยังมองเห็นช่องว่างในตลาดและหวังว่าจะเป็นผู้นำในตลาดได้

    ส่วน Shopee เริ่มดำเนินธุรกิจแบบ C2C ที่ให้ลูกค้าสามารถขายสินค้าออนไลน์ได้ แต่ก็ได้มีการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจแบบ B2C ตัว Shopee มุ่งโฟกัสไปที่ Mobile application เป็นหลัก เพื่อเน้นความสะดวก ง่าย และรวดเร็ว ของผู้ใช้งาน ซึ่งเมื่อเดือน มิ.ย.60 ที่ผ่านมามีการดาวน์โหลด App แล้วกว่า 1 ล้านครั้ง


     

  4. ผู้นำด้าน Social Media
    Traffic , Application Facebook
    Chilindo ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมา 4 ปีแล้ว มีรูปแบบธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์โดยให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าโดยการประมูลเริ่มต้นที่ 1   บาท Chilindo มี Traffic ของเว็บไซต์สูงที่สุดเมื่อเทียบกับเว็บไซต์ E-commerce สัญาชาติไทยด้วยกัน มีการดาวน์โหลด Application ไปแล้วกว่า 500,000 ครั้ง ที่สำคัญมี Facebook แฟนเพจ 3,510,000 ราย ซึ่งถือเป็นช่องทางที่ Chilindo ใช้สื่อสารประชาสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกได้ดี

    LINE เป็นช่องทางหลักในการทำการตลาด
    LINE เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มยอดนิยมในประเทศไทย จะเห็นว่า 10 อันดับเว็บไซต์ของเว็บไซต์ E-commerce มี 8 รายที่เป็นสัญาชาติไทย คือ Wemall, Karmarts, Powerbuy, Jaymart, Pomelo, Shop24, Central Online และ Beauticool ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ LINE ในการทำตลาดเป็นหลัก ดังนั้น E-commerce ต่างชาติอย่าง Lazada และ Shopee คงต้องหันมาใช้ LINE เพื่อสื่อสารกับคนไทยบ้าง

    Instagram เป็นช่องทางรองจาก LINE
    เว็บไซต์ Carnival เริ่มต้นจากการเป็นร้านค้าแนว Street Fashion ในย่านสยามสแควร์ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้าสู่ตลาดออนไลน์ด้วยแบรนด์สินค้าแนว Street Fashion ซึ่ง Carnival มี Followers 261,000 ราย ใน Instagram ซึ่งใกล้เคียงกับ Lazada สำหรับจุดเด่นของ Carnival คือ ลงทุนกับการใช้เวลาสร้างภาพสินค้าให้มีความสวยงาม นอกจากนี้ยังมีข้อมูลครบถ้วน ขนาด สี ราคา ส่วนลด และช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน


     

  5. จากร้านค้า Offline สู่ Online
    J.I.B ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของธุรกิจร้านค้าสู่การทำธุรกิจออนไลน์ คุณสมยศ (ผู้ก่อตั้ง J.I.B) ได้เปิดร้านขายคอมพิวเตอร์แห่งแรกที่เซียร์ รังสิต จากนั้นธุรกิจมีการขยายไปแล้วกว่า 140 สาขา คุณสมยศได้เรียนรู้จาก คุณภาวุธ (Tarad.com) เพื่อวางปุ่ม “call-to-action” ในเว็บไซต์ของเขา หลังจากที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ผลที่ได้ก็สร้างความประหลาดใจให้กับเขามาก โดยภายในหนึ่งเดือนเขามียอดขาย 800,000 บาทจากช่องทางออนไลน์ ดังนั้น เขาจึงเริ่มมุ่งหน้าสู่การทำ E-commerce ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบัน J.I.B อยู่อันดับที่ 6 (ถ้าวัดกันตาม Traffic ของเว็บไซต์) มีการเข้าชมเว็บไซต์ต่อเดือนที่ 245,000 ครั้ง 

    ตามมาด้วยห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอย่าง Central ที่เข้าร่วมแข่งขันในตลาด E-commerce ภายใต้ "Central Online" ปัจจุบันถ้าวัดกันตาม Traffic ของเว็บไซต์แล้ว อยู่ที่อันดับ 7 โดยมีผู้เข้าชม 2,039,500 ครั้งต่อเดือน ด้วยพันธกิจที่ต้องการนำห้างสรรพสินค้ามาให้คุณเพียงคลิกเดียว Central Online น่าจะสามารถใช้ความมีชื่อเสียงและประวัติที่ยาวนานในธุรกิจห้างสรรพสินค้าเพื่อลงแข่นขันกับลูกค้ารายอื่นในธุรกิจ E-commerce ได้

     

 

        เชื่อว่า คนไอทีคงจะได้เห็นแนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจในยุคนี้กันแล้ว ว่ามีความดุเดือดมากแค่ไหน คนไอทีที่ทำงานในธุรกิจ E-commerce ควรผลักดันตัวเองอย่างมากเพื่อรองรับการแข่งขันอันดุเดือดนี้ และมีแนวโน้มจะยิ่งมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ที่มา: ipricethailand.com และ e27.co

ดูตำแหน่งงานไอทีในอุตสาหกรรม E-commerce ไทย คลิกที่นี่

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง