5 ข้อผิดพลาด ในการออกแบบ UI ของ Application

17-ม.ค.-18

คัมภีร์เทพ IT

สำหรับการออกแบบ UI ของ Application นั้น ไม่มีสูตรตายตัว ซึ่งในบทความนี้จะบอกถึง “ข้อผิดพลาด” ที่คุณควรหลีกเลี่ยงในการออกแบบ UI ของ Application ที่พบได้จาก Designer ในทุกระดับของประสบการณ์ทำงานเลยทีเดียว การออกแบบ UI ที่ดีถือเป็นความท้าทาย และยังมีอีกหลายแง่มุมที่ Designer มองข้ามได้ง่าย และนี่คือ 5 ข้อผิดพลาดในการออกแบบ UI ที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ รวมทั้งแนวทางการแก้ไข ลองอ่านจากบทความนี้ได้เลยครับ

1. การใช้ Font ที่ไม่เหมาะสม

มาเริ่มกันที่ System Font กัน อย่าง iOS มี “San Francisco” ส่วน Android ก็มี “Roboto” ซึ่งทั้ง 2 Font นี้เป็น Font ที่อ่านง่ายแถมยังคล้ายกันอีกด้วย ที่พูดถึง System Font ก็เพราะมันปลอดภัยและได้รับการพิสูจน์มาแล้ว แต่สำหรับ โทรศัพท์ Samsung ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้เปลี่ยน Default Font ได้ ส่งผลให้ App อาจดูผิดเพี้ยนไปทันทีที่ผู้ใช้เปลี่ยน Font ไปเป็น “Choco Cooky” แม้มี Font สวยๆ ให้เลือกมากมายแต่ก็ต้องดูความเหมาะสมด้วย เพราะ Font จะช่วยสร้าง User Experience ได้เช่นกัน คุณควรเลือก Font ที่ “อ่านง่ายและดูสอดคล้องกัน” และที่สำคัญที่สุด การใช้ Font ที่มี License” จะปลอดภัยที่สุด และไม่มีปัญหาในภายหลัง

2. หน้าจอดูรกเต็มไปหมด

เมื่อคุณต้องออกแบบ UI ในโทรศัพท์ที่มีขนาดเล็ก คุณอาจต้องเจอปัญหาเรื่องจะแสดงทุกอย่างให้อยู่ในหน้าจอนั้นได้อย่างไร  อย่างใน iPhone 4 เป็นต้น แต่ด้วยความนิยมใช้โทรศัพท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (หรือ phablets) เราสามารถใส่สิ่งต่างๆ บนหน้าจอได้มากขึ้น เช่น Font ที่ใหญ่ขึ้น ปุ่มที่มากขึ้น หรือออกแบบได้ตามที่คุณต้องการ แต่ก็ต้องระวังว่าการมีมากเกินไปก็ไม่ดี ไม่ว่าจะเพิ่มอะไรเข้าไปคุณต้องพิจารณาถึง User ด้วย เพราะ User อาจสับสนว่าจะทำอะไรดี หรือคลิกตรงไหนดี คุณควรออกแบบให้ดึงดูดความสนใจเพื่อให้ User เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ขณะเดียวกันต้องใช้งานง่ายด้วย

3. ขาดความกลมกลืนและสอดคล้อง

ถ้าคุณต้องการให้ User สนใจตรงไหน หรือให้ทำอะไรต่อ ก็แสดงให้ชัดเจนไปเลย เพราะ User จะเรียนรู้จากการใช้งาน แต่หากUser รู้สึกคลุมเครือ ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าต้องทำย่างไร ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้แก่ User ได้ นอกจากนี้ควรออกแบบ Layout ที่สอดคล้องกันด้วย เช่น การใช้สี เป็นต้น คุณสามารถใช้คู่มือ Style Guide เพื่อตั้งมาตรฐานในการ Design ให้เป็นไปในทางเดียวกัน การมี Layout ที่สอดคล้องกัน จะช่วยทำให้ User เรียนรู้วิธีการใช้งาน App ของคุณ แต่ก็มีข้อยกเว้น อย่างหน้า Login หรือหน้าอื่นๆ ที่มีการใช้งานแยกออกมา  เมื่อใดก็ตามที่คุณมี Pattern ที่แยกออกไป โปรดจำไว้ว่า ทุกองค์ประกอบยังคงเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมทั้งหมด

4. การ Transfer จาก iOS ไป Android โดยตรง

คุณอาจเกิดคำถามว่าการ Transfer ระหว่าง iOS กับ Android มันไม่ได้ช่วยลดค่าใช้จ่าย หรือประหยัดเวลาในการทำหรอกเหรอ คำตอบคือ มันก็อาจเป็นไปได้ แต่เป้าหมายสูงสุดก็คือ การสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้แก่ User จริงไหม โดยทั่วไปพวกเขามีความคุ้นเคยกับ Function ที่ใช้งานอยู่แล้ว หากคุณสร้าง App ที่มีรูปแบบการใช้งานที่ผิดแผกไปจากปกติ พวกเขาก็อาจไม่สนุกกับการใช้ App ของคุณ จะว่าไปแล้ว Android กับ iOS ต่างก็ล้วนมีรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับ User เป็นของตัวเอง User คงจะไม่ชอบใจแน่ หากต้องมานั่งเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด หากคุณ Transfer จาก iOS ไป Android (หรือในทางกลับกัน) คุณอาจกำลังทำผิดพลาดในเรื่องของความกลมกลืนและสอดคล้องระหว่างอุปกรณ์ได้ ดังนั้น การออกแบบ App ให้ดูสอดคล้องกับ iOS และ Android น่าจะส่งผลที่ดีกว่า

5. มีการจัดลำดับของข้อมูลที่ไม่ดี

เมื่อคุณออกแบบอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น นามบัตร, Website, Application คุณจำเป็นต้องวางแผนและออกแบบตามระดับความสำคัญของข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอออกไป คุณควรนึกถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องการนำเสนอออกไป เมื่อคุณทราบถึงลำดับความสำคัญแล้ว คุณอาจสร้างความแตกต่างให้สิ่งสำคัญเหล่านั้นด้วย Font, สี, ขนาด เป็นต้น คุณต้องคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ใช้ตอบสนองกับ Product ของคุณ แล้วออกแบบให้เหมาะสม

ตัวอย่างข้อผิดพลาดและการแก้ไข

ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง App สั่งจองอาหารของ Brand หนึ่ง

Design แบบเก่า

Design แบบใหม่

ไม่มีการให้ Rating(คะแนนความนิยม)

เพิ่มการให้ Ratingเข้าไป

Logo และข้อความถูกบีบอัดทำให้อ่านยาก และดูเต็มหน้าจอ เพราะออกแบบในสมัยที่ iPhone 5 ได้รับความนิยม

Logo ใหญ่ขึ้น เห็นได้ชัดเจน และข้อความไม่แออัด ทำให้ลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำ มีแนวโน้มที่จะจดจำ Logo ได้ง่ายกว่าการอ่านชื่อ Brand สินค้า

Design แบบเก่า

Design แบบใหม่

ใช้ Font Oswald สำหรับชื่อ Brand และ Tags(แถบป้ายบอกข้อมูล) ซึ่งตอนแรกออกแบบให้มีเพียงบรรทัดเดียวท่านั้น

เพราะร้านอาหารบางแห่งมีข้อเสนอสุดพิเศษมากมาย ดังนั้นจึงปรับให้เพียงพอ เพื่อรองรับ Tags ที่อาจมีจำนวนมากได้

Android เวอร์ชันที่มี System Font และ Font Choco Cooky บนโทรศัพท์ Samsung (ซึ่งมักมีปัญหาการแสดงผล)

เพิ่ม Font Roboto เป็น Custom Font แทน ทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น                                                          

Design แบบเก่า

Design แบบใหม่

เนื่องจาก Design แบบเก่าไม่มีการให้ Rating และใช้รูปดาว เพื่อทำเครื่องหมายเป็น Favorite (ร้านที่ชื่นชอบ) แต่ทาง Brand อยากให้ใส่ Rating เพิ่มเข้าไป                                                                                

เปลี่ยนเป็นมาใช้รูปดาวในการให้ Rating แล้ว (ธุรกิจโรงแรมและ Michelin Guides ก็ใช้กันแพร่หลาย) จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์ของ Favorite เสียใหม่ ขณะเดียวกันก็ได้มีการแจ้ง User ให้ทราบเกี่ยวกับ Feature ที่ Update ใหม่นี้ด้วย

ถึงแม้คุณจะออกแบบ โดยเลี่ยงข้อผิดพลาดดังกล่าว แต่ในความจริงอะไรก็อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น คุณต้องสังเกตพฤติกรรมและความต้องการของ User ด้วยการวิเคราะห์หรือใช้เครื่องมืออื่นๆ จากนั้นก็ปรับปรุง App ของคุณ การออกแบบที่ดีควรจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุง UX อย่างต่อเนื่องด้วย

ที่มา : https://www.invisionapp.com/

 

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง