4 essential features of modern low-code development platforms

11-Jul-18

คัมภีร์เทพ IT

See the original english version Click here!
 

ปัจจุบัน Low-Code Development Platform ได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจที่กำลังก้าวไปสู่ Digital มากขึ้น เนื่องจากองค์กรยุคใหม่เริ่มหันไปให้ความสำคัญในเรื่อง Agile ประกอบกับ มันช่วยลดความซับซ้อน enterprise software development อีกด้วย วันนี้ทีมงานมีบทความเกี่ยวกับ 4 Features ที่ควรมีใน Low-Code Development Platforms มาให้ลองนำไปใช้งานกัน

Low-Code Development Platform ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้มันจะมีข้อดีในเรื่องพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยมีปัญหาในเรื่องที่ไม่ได้ปรับปรุงในขั้นตอนอื่นๆ ของ Software Development Life Cycle (SDLC) อย่างเช่น planning, debugging, testing, implementation และ deployment ผลคือ Low-Code Software ที่ออกมาจึงอาจทำให้เพิ่มความยุ่งยากและเวลาใน development process แต่สำหรับ Low-Code Development Platform รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ได้รับการพัฒนาในขั้นตอนต่างๆ ของ SDLC แล้ว ตั้งแต่ version control, performance testing จนถึง change management ซึ่งมันไม่เพียงทำให้ง่ายต่อการสร้าง Software เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้าง Test, ระบุปัญหา, ปรับเปลี่ยนขนาด Software ได้สะดวกและ application ก็มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วย

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Low-Code Development Platform จะสามารถใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของ software development ได้ทั้งหมด Low-Code Platform ช่วยเพิ่ม productivity โดยให้ความสำคัญกับ solutions อย่าง business process management, case management และ enterprise business operations นอกจากนี้ Low-Code Platform รุ่นใหม่ๆ ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานได้ดีกับ traditional programming languages และ development environments ซึ่งช่วยให้ Developer สามารถขยายขีดความสามารถของ Low-Code Design Tools ได้

สำหรับ บริษัทที่กำลังพิจารณา Low-Code Development Platform อยู่ นี่คือ Feature สำคัญ 4 อย่าง ที่ควรพิจารณา ก่อนการตัดสินใจใช้งานและลงทุนกับมัน

1. ควรมี Pre-Built Components

Low-Code Development Platform ควรประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องปรับแต่งอะไรมากมาย ขอยกตัวอย่าง เช่น Developer ไม่จำเป็นต้อง code ตัว UI objects ตั้งแต่ต้น ในเมื่อพวกเขาสามารถเลือกใช้ UI จาก pre-built components ได้ นอกจากนี้ pre-built components สามารถ Config. ค่าและอัพเดตได้อย่างง่ายดายอีกด้วย สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจอยู่ Low-Code Platform ควรดูรายละเอียดให้มากในเรื่องของ Library ของ pre-built components และความสามารถของ platform เช่น หากเป้าหมาย คือการสร้าง contract management system คุณจะควรมองหา Feature อย่าง document management, business process management, business rules และ ความสามารถในการสร้าง PDF contract documents

2. ควรสามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า การเขียน Code ไม่ใช่ส่วนที่ซับซ้อนและใช้ทรัพยากรเพียงอย่างเดียวในการพัฒนา Software แต่การ Planning, testing และ implementation ก็ต้องใช้เวลาอีกด้วย ไม่เหมือนกับพวก app development tools ในสมัยก่อน, Low-Code Development Platform สมัยใหม่ ต้องการทำให้ SDLC มีความง่ายขึ้น ซึ่งรวมทั้ง debugging, integration testing, performance analysis และ deployment อีกด้วย และเช่นเดียวกันกับ advanced development tools อื่นๆ Low-Code Development Platform ควรทำให้ developer สามารถย้อนกลับไปใช้ version ก่อนหน้าได้ด้วย

3. ควรสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่าง Business และ IT

ปัจจุบันธุรกิจ digital ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และ Business เพื่อร่วมกันทำงานในการพัฒนา digital customer experience แบบใหม่ในขณะที่ดำเนินธุรกิจ, Traditional Software development เกี่ยวข้องกับการใช้เวลาหลายเดือนในการวางแผนเกี่ยวกับ application ใหม่, จำลองแบบ User interface, กำหนดรายละเอียดproduct, เขียน code, ทดสอบ ทุก component, ตรวจสอบ features ต่างๆ, implementation ซึ่งยังไม่รวมการ Training user การมี development cycles ที่ใช้เวลายาวนานแบบนี้ นอกจากจะต้องใช้เวลาและ resource จำนวนมากแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ digital initiative อีกด้วย 
ถ้ามองในแง่ภาพรวมของตัวกลางในการพัฒนาที่ง่ายต่อ non-technical users ในการทำความเข้าใจแล้ว Low-Code Development Platform สมัยใหม่ ช่วยให้การสื่อสารระหว่าง Business และ IT ความลื่นไหล ด้วยวิธีนี้ process logic และ business rules ที่เกี่ยวข้อง จะสามารถวางอยู่ในรูปแบบมาตรฐานได้ เช่น business process management และ decision model notation ที่ธุรกิจทั้งหมดสามารถเข้าใจได้ จากนั้น Low-code tools จะนำไปออกแบบและทำให้มันสามารถ executable, ข้ามขั้นตอนการแปลอันยาวนานจาก requirements documents จนถึง code ของ traditional development tools ซึ่งในท้ายที่สุดจะช่วยให้ Low-Code IT Developer สามารถทำงานได้ตาม timeline และมั่นใจได้ว่าการออกแบบของพวกเขาจะตรงกับ business requirements

4. สามารถใช้งานร่วมกับ Cloud ได้

Visual Basic, PowerBuilder และ Microsoft Access มีประเด็นในเรื่องไม่สามารถปรับขนาดได้ แต่ แล้ว Low-Code Platform สมัยใหม่ มีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมแบบ Cloud ในความเป็นจริง Low-Code Platform สมัยใหม่ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อส่งมอบ Solution ที่มีขนาดใหญ่สำหรับโครงการของรัฐบาลและสถาบันการเงิน นอกจากนี้ Low-Code Platform มักมาพร้อมกับ pre-certified cloud security credentials เช่น PCI และ FedRAMP compliance  

Low-code application development platforms เกินขึ้นมานานแล้ว โดยรุ่นก่อนๆ ของ tools นี้อาจจะมีชื่อเสียงไม่ดีเนื่องจากมุ่งเน้นเฉพาะด้านองค์ประกอบ, ไม่ support เกี่ยวกับ SDLC และมีข้อจำกัดในด้านการปรับขนาด สิ่งสำคัญคือต้องมองหาแพลตฟอร์มที่ทันสมัยซึ่งมี pre-built components ให้ใช้งานได้อย่างหลากหลาย, ลดความซับซ้อนใน development cycle, เพิ่มความร่วมมือกันระหว่าง Business และ IT รวมทั้งมี dynamic cloud architectures

ที่มา:  https://www.infoworld.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง