ข้อผิดพลาดของ Junior Developer พร้อมวิธีหลีกเลี่ยง

06-ก.ค.-18

คัมภีร์เทพ IT

สำหรับคนที่เพิ่งเรียนจบ มีประสบการณ์ทำงานน้อย และเพิ่งเข้าสู่โลกของ Software Development ในการทำงานจริง ย่อมทำอะไรผิดพลาดไปบ้างเป็นธรรมดา วันนี้เรามาอ่านเรื่องราวของ Jack Finlay ซึ่งเขาได้มาถ่ายทอด ข้อผิดพลาดตอนที่ยังเป็น Junior Developer รวมทั้งวิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนั้น

1. ช่วงหางานแรก

หลังเรียนจบ การหางานแรกอาจไม่ใช่เรื่องงายสำหรับหลายๆ คน คุณต้องแน่ใจว่างานนั้นเป็น “งานที่ใช่” สำหรับคุณ บริษัทที่ทำก็เหมาะกับตัวคุณและจะเลือกเดินไปทางไหน

1.1 ค้นหาคุณค่าของตัวเองให้เจอ

สำหรับเรื่องนี้ Jack ได้ทำผิดพลาดไป 2 ครั้ง ครั้งแรกตอนอยู่ปี 2 ช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุที่ช่วงนั้นมีปัญหาการเงิน จึงรับงานพัฒนา Software โดยยอมรับรายได้ที่ค่อนข้างต่ำกว่าตลาดมากๆ ส่วนครั้งที่ 2 คือ ช่วงเพิ่งจบ Jack ก็ได้งานอีกที่โดยมีรายได้ที่ยังต่ำกว่าตลาดอยู่ดี Jack จึงแนะนำให้ลองดูจากเว็บไซต์ที่แสดงพวก Rate เงินเดือน พร้อมดู area ที่ทำงาน ลักษณะงานที่ทำ รวมทั้ง Technical skill ที่ใกล้กับคุณ ซึ่งจะสามารถใช้ Rate เงินเดือนเหล่านี้อ้างอิงและต่อรองเงินเดือนได้

1.2 อ่าน Reviews ต่างๆ

ตัวอย่างเช่น Glassdoor ก็ถือเป็นแหล่งที่ดี ซึ่งจะมีพนักงานที่ทำงานในบริษัทจริงๆ  มาให้คะแนนบริษัทที่พวกเขาทำงานอยู่ การรีวิวเหล่านี้จะเป็นตัวสะท้อนว่า พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดีหรือแย่ เมื่อคุณหาข้อมูลเพียงพอก็จะพบว่า อะไรที่เหมาะกับคุณ ถ้า Jack ได้อ่านรีวิวก่อนหน้านี้ เขาคิดว่าคงจะไม่เจอประสบการณ์แบบนี้

1.3 รู้ว่าคุณเก่งด้านไหนและทำอะไรได้ดีบ้าง

ก่อนหน้านี้ Jack เคยอยากทำงานกับบริษัทที่เพื่อนๆ เขาทำอยู่และเพื่อนก็ดูจะ happy กันมาก แต่สุดท้ายกลายเป็นว่า Jack ได้ทำคนละแผนกกับเพื่อน ทำให้เขาชักไม่แน่ใจว่างานนี้เหมาะกับเขาหรือไม่ เรื่องที่ทำพลาดคือ การที่ไม่ได้ถามเกี่ยวกับ environments, tools และ languages ที่จะใช้ ให้ละเอียดซะก่อน ต่อไปเวลาสัมภาษณ์ก็จะถามคำถาม เช่น:

  • ใช้ Version control strategy และ tooling ไหน? แล้วมันเป็น standard ของ industry หรือไม่?
  • จะต้องทำงานกับ frameworks/languages อะไรบ้าง? จะได้ทำงาน Projects เกี่ยวกับอะไร?
  • ต่อไปบริษัทมีแผนจะใช้ technologies อะไรบ้าง? ต่อไปคาดว่าจะปรับเปลี่ยนไปใช้ technology ใดบ้าง?

2. ระหว่างการทำงาน

ช่วงที่คุณกำลังทำงาน คุณจะต้องเจอความท้าทายใหม่ๆ แทบจะตลอดเวลา

2.1 Code ไม่มีทางสมบูรณ์แบบจากคนเขียนคนเดียว

แต่ก่อน Jack เคยคิดว่า Code ของเขามันดีอยู่แล้ว ไม่ต้องมีใครมา comment หรอก ซึ่งนั่นเป็นความผิดพลาดที่จะไม่ทำมันอีก จะว่าไปแล้ว comments ที่ได้รับจากคนอื่นๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากไม่ว่าจะใช้ภาษา Programming ใดก็ตาม เพราะมันสามารถแสดงความคิดได้หลายแง่มุม Jack เคยพบว่าแม้ comment ง่ายๆ เล็กน้อย ช่วยทำให้ code และ algorithm ที่ซับซ้อน สามารถทำให้เข้าใจและอัปเดตได้ง่ายขึ้น แต่การ comments นอกประเด็น ยิ่งทำให้คุณทำงานลำบากขึ้น แถมทำให้คนอื่นที่จะทำงานต่อจากคุณพลอยงงตามไปด้วย

2.2 รู้จักตั้งคำถาม

ให้รีบขอความช่วยเหลือ อย่ารอจนปัญหาลุกลามและบานปลาย เพราะการรีรออาจทำให้คุณได้ข้อสรุปที่ผิดเพี้ยน หรือแย่สุดก็คือ ทำให้ทุกอย่างพัง จงตั้งคำถามตั้งแต่เนิ่นๆ หรือไม่ก็ลองหาจาก Google ดูก่อน การรู้จักตั้งทำถามนับเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยให้คุณเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและทำให้คุณมีส่วนร่วมใน Project ได้อย่างถูกต้อง

2.3 ตั้งสมมติฐานที่ถูกต้อง

สมมติฐานเป็นสิ่งสำคัญในการค้นหาว่าคุณอยากจะสร้างอะไรใน Project เมื่อคุณออกแบบ solutions ชุดของสมมติฐานที่ถูกต้องจะช่วยนำทางคุณไปยัง solution ที่ถูกต้อง Jack เคยใช้เวลาหลายชั่วโมงในการสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ เนื่องจากเขาได้ตั้งสมมติฐานที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วงานที่มาจาก Business Analyst ค่อนข้างจะมีความสมบูรณ์ แต่มันก็อาจมีช่องว่างอยู่ ดังนั้น คุณก็มีส่วนกำหนดแนวทางให้ทุกอย่างถูกต้องเช่นกัน

2.4 Working from home

ไม่ต้องกลัวที่จะขอทำงานจากที่บ้าน (ถ้านานๆ จะขอสักครั้ง) เพราะบางทีมันช่วยให้คุณลดความเครียดลงและไม่ต้องถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆ ในที่ทำงาน ที่จริงมีหลายบริษัทที่ใช้นโยบายนี้ แล้วมันก็ work ซะด้วย แต่ก็มีบางบริษัทที่ต่อต้านนโยบายนี้อย่างเต็มที่เช่นกัน ความร่วมมือกันในการทำงานยังเกิดขึ้นเสมอแม้จะผ่านระบบออนไลน์ก็ตาม ไม่ว่าจะ email, chat หรือโทรศัพท์ เป็นต้น Jack คิดว่าระยะทางไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมกันเลย

2.5 เวลาที่คุณจะได้ทำงาน(จริง)

เมื่ออยู่ในออฟฟิต คุณอาจจะเสียเวลาไปกับเรื่องอื่นๆ เช่นการ meeting ซึ่งแน่นอนว่า มันทำให้คุณมีเวลาทำงานของคุณ(จริงๆ) ที่น้อยลง ดังนั้น คุณควรเผื่อเวลาและทำให้แน่ใจว่า อย่างน้อยคุณได้เขียน Code ที่มากเพียงพอที่จะสร้าง solutions ที่จะเป็นไปได้จริง

3. งานที่ทำนอกเหนือเวลางาน

แม้มีหลายคนที่บอกว่า มันไม่สำคัญ แต่กลับมีอีกหลายคนที่บอกว่า การทำงานที่นอกเหนือจากงานหลัก มีความสำคัญพอๆ กับ การทำงานในที่งานจริงๆ

3.1 ใช้เวลาส่วนตัวฝึก coding

Jack เคยตระหนักดีว่า เมื่อต้องใช้ tools หรือภาษาที่ไม่ถนัดมันแย่แค่ไหน เขาเลยเริ่มทำงานโดยเน้นทักษะที่เชื่อว่าจะสามารถนำไปใช้ในงานต่อไปหรือในบริษัทอื่นได้ การได้เรียนรู้เกี่ยวกับ technologies ที่อยู่ใน Trend อาจช่วยให้คุณเจอทางออก Jack เชื่อว่าเวลาที่ใช้ไปในการพัฒนาอาชีพของคุณ จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคต

3.2 อ่าน

คุณสามารถเรียนรู้ได้มากมายจากการอ่านหนังสือ ถ้าว่างๆ ก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ไม้ว่าจะเป็นที่ออฟฟิตหรือที่ไหนที่คุณสะดวก หรือถ้าไม่มีอะไรทำก็ลองใช้การอ่านหนังสือเป็นการฆ่าเวลาดูสิ

3.3 เขียน

การเขียนอาจเป็นวิธีที่ดีสำหรับงานในอนาคตของคุณ นี่ไม่ใช่แค่สิ่งที่อยากจะแนะนำ แต่เป็นสิ่งที่ไตร่ตรองมาแล้วว่าดีจริง Blog ดีๆ สามารถช่วยคุณได้เมื่อต้องเจอกับบางเรื่องที่คุณไม่เคยเจอหรือแก้ปัญหาไม่ได้ ช่วงแรกมันอาจดูแปลกๆ สักหน่อย แต่การเขียนสิ่งต่างๆ เป็นวิธีที่ดีในการคลายความเครียดและช่วยให้ผ่อนคลายได้

3.4 ออกกำลังกาย

ช่วง 2 ปีแรกของการทำงาน Jack แทบไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลย เมื่อเป็น Programmer คุณมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งมองหน้าจอ และไม่ค่อยมี activity อื่นๆ นี่ยังไม่รวมเวลาที่นั่งนั่ง meeting หรือนั่งทำงานที่โต๊ะอีก  ไม่ต้องออกกำลังกายให้หนักหรอก แต่ควรทำเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย

3.5 หยุดพักบ้าง

การหยัดพักก็ถือว่ามีความสำคัญ มันจะดีต่อคุณหากใช้เวลาหยุดในช่วง long weekends หรือลาหยุดบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในหลายๆ ประเทศ ต่างมีนโยบายให้เวลาคนทำงานได้หยุดพักที่แตกต่างกันไป จงใช้โอกาสนั้นซะ Jack เองเคยทำผิดพลาดด้วยการที่เก็บวันลาไว้ก่อน แต่กลายเป็นรู้สึกหมดในระหว่างการทำงาน การได้หยุดพักจะดีต่อทั้งสุขภาพและจิตของคุณ

ที่มา:  https://medium.freecodecamp.org/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง