Digital Forces to Usher In a New Age of Work

02-Aug-17

IT Insider


คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงกำลังเข้ามาพลิกโฉมรูปแบบการทำงานไปในแบบที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อรูปแบบการทำธุรกิจ กลุ่มประชากร พฤติกรรมผู้บริโภค และทัศนคติในที่ทำงาน สิ่งเหล่านี้กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในบริษัททุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ ไปจนถึงธุรกิจออนไลน์ บริษัทขนาดใหญ่ในทุก ๆ อุตสาหกรรมจะรับรู้ถึงประสบการณ์การปฏิวัติดิจิทัลที่กำลังเพิ่มขึ้น และจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปเรื่อย ๆ

ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้จัดการและผู้บริหารบริษัทชั้นนำของไทยหลายคนและรู้สึกประหลาดใจที่พบว่าหลายคนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไรในโลกดิจิทัล แม้ว่าจะทราบว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ผมเคยเล่าให้คนเหล่านั้นฟังว่าผมได้รับการรับรองให้เป็นโค้ชเรื่องวิธีการทำงานแบบ Agile (Agile Coach) รองรับโดยโดย ScrumAlliance® และบริษัทใหญ่ ๆ อีกหลายบริษัททั่วโลกได้เปลี่ยนวิธีการทำงานแบบ Agile มาใช้

หลาย ๆ คนยังไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าวิธีการทำงานแบบ Agile นั้นคืออะไร หลายคนพูดถึงแต่เรื่องดิจิทัล และเสียเงินลงทุนไปมากมายกับการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ แต่มีคนจำนวนไม่มากที่รู้จักใช้ประโยชน์จากการนำเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ  มาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับรูปแบบธุรกิจในวงกว้าง บ่อยครั้งที่เราให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นมากไปแต่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงระยะกลางและระยะยาวค่อนข้างน้อย ผู้เขียนยังอดคิดไม่ได้ว่าความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดคงจะสร้างความประหลาดใจให้กับบริษัทต่างๆในไทยไม่มากก็น้อย

 

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทั่วโลกอย่างละเอียดโดยบริษัท เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) ได้นำเสนอเทรนด์หลัก ๆ ถึง 60 แนวทาง และแนวทางหลักอีกสามแนวทางที่เกี่ยวของกับการเพิ่มผลผลิตด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งกำลังเป็นข้อถกเถียงและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกไปนี้

1.ระบบอัตโนมัติ: การเข้ามาของอุตสาหกรรม 4.0 และความก้าวหน้าของวิทยาการหุ่นยนต์ นำมาซึ่งปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้การทำงานเครื่องจักรกลจะเข้ามาแทนที่ระบบสายพานอุตสาหกรรมและพนักงานออฟฟิศ ความเสมือนจริงจะเข้ามา สร้างรูปแบบใหม่ให้กับโลกการทำงาน บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถอย่างรวดเร็ว เช่นการวิเคราะห์ข้อมูล (รวมถึงการหาและการรวบรวมข้อมูล) การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ประสบการณ์จากผู้ใช้จริง

ในความเป็นจริง ทุก ๆ องค์กรจะต้องการเทคโนโลยีขึ้นสูง ทั้งองค์กรและมนุษย์งานที่ไม่มีทางเลือกมากนักสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ หรือการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องผู้บริหารก็เช่นกัน ควรต้องสร้างความคุ้นเคยกับดิจิทัล เทคโนโลยี นับเป็นความท้าทายสำคัญ เพราะมีคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะความชำนาญด้านนี้มากกว่าผู้บริหารที่มีอายุ

2.ข้อมูลจำนวนมาก และการวิเคราะห์ขั้นสูง เรากำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วกับความเป็นไปได้ในการในใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เครื่องมือแบบบูรณาการ ข้อมูลเชิงลึกจากการใช้โซเชียล มีเดีย การรับรู้ทางพฤติกรรม และข้อมูลจำนวนมากที่จำเป็นต้องปรับประสิทธิภาพในการทำงาน BCG ประเมินว่าข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ขั้นสูงจะสามารถปลดล็อครายได้มูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญต่อปีภายในปี 2563  บริษัทจะใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อพัฒนาการจัดการพนักงานและสร้างการมีส่วนร่วม ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ขั้นสูงสามารถช่วยทำนายการติดต่อและการรักษาและการสร้างความเข้าใจทีมทำงาน ความสามารถในการวิเคราะห์เหล่านี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายทรัพยากรบุคคล รวมทั้งการทำงานด้านอื่น ๆ ช่วยให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นปัจเจกสูง เพื่อลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ความหมายของการจัดการทีมนั้นค่อนข้างชัดเจน นั่นคือบริษัทจำเป็นต้องปรับตัวและนำการวิเคราะห์มาใช้ในทุกส่วนของการทำงาน การสร้างเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จะกลายมาเป็นข้อได้เปรียบในการทำธุรกิจ ผลลัพธ์คือ ทีมผู้นำจำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามข้อมูลยังมีความสำคัญ และนำไปสู่สัญชาตญานในการตัดสินใจ

3. การเข้าถึงข้อมูลและไอเดีย: เทคโนโลยีแบบคลาวด์และเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันเกือบทุกประเภท (Internet of Things IoT) การพัฒนาและแจกจ่ายต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์และกระบวนการที่เปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรม เทคโนโลยีแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การลดช่องว่างการแตกแยก การลงทุนแบบใหม่ และการก่อสร้างโครงสร้างช่องทางการทำงานลดค่าใช้จ่ายจากการเข้าถึงและกระบวนการทำงาน และหาคำจำกัดความใหม่ให้กับธุรกิจภูมิทัศน์ ยกตัวอย่างเช่น Kaggle และ Innovatie ชุมชนการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน (Crowdsourcing) เพื่อร่วมกันทำ หรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกัน จนกลายเป็นเทรนด์ฮิต ของการทำกิจกรรมในการตลาดออนไลน์ผ่าน Digital Campaign และการโฆษณาออนไลน์โดยไม่จำเป็นต้องใช้การลงทุนมากนัก แทนที่จะจ้างพนักงานเต็มเวลา บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาเพื่อทำงานโปรเจ็คเฉพาะ ข้อดีของพนักงานอิสระคือมีความสามารถเชื่อมต่อกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมวงกว้างได้ ซึ่งจะต่างกับพนักงานแบบเต็มเวลาที่ค่อนข้างจะยึดติดอยู่กับกระบวนการภายใน

 

ในสภาวะการทำงานชั่วคราวและทีมเสมือนจริงเช่นนี้ ผู้นำต้องปรับตัวกับขอบเขตในการทำงานที่ไม่ค่อยชัดเจนนักระหว่างพนักงานกับผู้รับจ้างตามสัญญา และเปลี่ยนความคิดในการดึงศักยภาพของผู้รับจ้างมาใช้เพื่อให้งานออกมาเสร็จสมบูรณ์​

 ผลจากแรงผลักดันหลักทั้งสามนี้นำไปสู่การเกิด 6 เทรนด์ใหญ่คือ

  1. ความเรียบง่ายในความซับซ้อน: คุณค่าของความเรียบง่าย ระเบียบวิธีที่ไม่มาก วิวัฒนาการจากไซโลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มาเป็นองค์กรที่มีการทำงานแบบองค์รวม มีความเชี่ยวชาญและความซับซ้อนมากขึ้น
  2. ความรวดเร็วและนวัตกรรม: การเปลี่ยนแปลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนและเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่มีมากขึ้น องค์กรที่โตแบบก้าวกระโดด การพัฒนาอย่างรวดเร็ว หุ้นส่วนและบริษัทรายย่อยในรูปแบบดิจิทัล
  3. ยุทธศาสตร์สำหรับลูกค้ารายใหม่: ออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นดีเพื่อตอบโจทย์แบบปัจเจกบุคคล เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ความปลอดภัยของข้อมูล จริยธรรมและสภาพแวดล้อม
  4. การรวมตัวกันของกลุ่มประชากรใหม่: การแบ่งกลุ่มประชากรจะแบ่งตาม กลุ่มผู้มีทักษะพิเศษ ประชากรที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ กลุ่มวัยแรงงานหลาย ๆ ช่วงอายุรวมกัน และความไม่สม่ำเสมอของทักษะ
  5. ความไม่สมดุลของทักษะ: ทักษะแบบใหม่ ความเสื่อมของทักษะชีวิต หลักสูตรอย่างเป็นทางการและการพัฒนา คนที่ยังล้าหลังกับเทคโนโลยีดิจิทัล และ ทักษะการศึกษาหาความรู้
  6. การเปลี่ยนไปของรูปแบบการเมืองและเศรษฐกิจ: ช่องว่างของรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางอำนาจที่มีหลายแห่ง การพัฒนาไปสู่สังคมเมือง และทรัพยากรที่ลดน้อยลง การเคลื่อนตัวของแรงงาน และการเติบโตของชนชั้นกลางในประทศกำลังพัฒนา

 

เพื่อเกาะติดกระแสการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน บริษัทจำเป็นต้องคิดอย่างถี่ถ้วนเพื่อหายุทธศาสตร์ที่จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานที่ชัดเจน คนที่ไม่พัฒนายุทธศาสตร์ตั้งแต่วันนี้จะต้องพบกับปัญหาในการรับมือกับคู่แข่งไม่ช้าก็เร็ว อาจทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้หากมีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต BCG ได้ประเมินผลของเทรนด์เหล่านี้และการรับมือของบริษัท เราคาดการณ์ว่าการพัฒนาหลัก ๆ ก็คือ ยุคใหม่ของการทำงาน ที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่ปีจากนี้คือ

  • ดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ที่จะนำมาซึ่งงานแบบใหม่และชนิดงานแบบใหม่มากขึ้น นั่นหมายถึงการขาดแคลนแรงงานของคนในกลุ่มงานนี้ด้วยเช่นกัน บริษัทจำนวนมากจำเป็นต้องพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับพนักงานที่มีและมองหาแรงงานใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพด้านนี้เข้ามาเสริมทัพ นอกจากนี้บริษัทจำเป็นต้องสร้างการเชื่อมต่อของแรงงานที่จะเข้ามาสานต่องานดิจิทัลแบบดีนี้ การเชื่อมต่อของทักษะในกลุ่มพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษกับพนักงานที่จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมไปจนถึงกลุ่มพนักงานที่ไม่มีทักษะด้านนี้เลย ต้องมีความต่อเนื่อง

 

  • บริษัทจะต้องพัฒนาขอบเขตการทำงานภายในและภายนอกให้เป็นระบบ ลดข้อจำกัดการแบ่งแยกระหว่างพนักงาน ซัพพลายเออร์ภายนอก และลูกค้า รู้จักพัฒนารูปแบบการทำงานที่จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างหุ้นส่วน ในที่สุดห่วงโซ่คุณค่าจะค่อย ๆ ทะลายกำแพงเหล่านี้และทำให้เกิดการทำงานในรูปแบบเครือข่าย หน้าที่ขององค์กรจะเปลี่ยนจากผู้ควบคุมทรัพยากร มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสร้างแรงบันดาลให้แต่ละคนในการทำงาน

 

  • ความรวดเร็วมีความจำเป็นต่อการแข่งขัน หลายบริษัทจำเป็นต้องสลายแผนกและสายบังคับบัญชา และนำเอารูปแบบการทำงานขององค์กรขนาดเล็กและทีมที่มีสหสาขาวิชาชีพมาใช้ ทีมเหล่านี้มีวงจรสั้นในการผลิตงานหรืองานบริการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งออกมา และรู้จักนำ­ข้อเสนอแนะมาใช้ ปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น มีพนักงานที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำงานในแต่ละโปรเจ็ค การอบรม การพัฒนาภายในและการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม แนวทางการพัฒนาอย่างรวดเร็วและสร้างสรรค์เช่นนี้ เมื่อนำมาใช้ควบคู่ไปกับการออกแบบทางความคิด และวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกำลังจะกลายมาเป็นบรรทัดฐานไม่ใช่แค่ในโลกไอที แต่หมายถึงการทำงานและการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงถึงกัน

 

  • บริษัทจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนองค์กรและคนในองค์กรเพื่อรับมือกับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง บริษัทจะต้องตอกย้ำความหลากหลาย รวมความสามารถ ความยืดหยุ่นของพันธุกรรมองค์กร การเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการทรัพยากรบุคคล นโยบายและระบบ ไปยังการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหา  ซอฟต์แวร์บนพื้นฐานระบบคลาวด์ที่มีความยืดหยุ่นจะเข้ามาแทนที่การควบคุมเอกสารข้อมูลในรูปแบบเก่า ๆ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องรับมือกับทั้งพนักงานประจำและให้การสนับสนุนความต้องการของแต่ละบุคคลให้มากขึ้น

 

  • ผู้นำที่ฉลาดจะคอยติดตามความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และรู้จักนำมาทดลองปฏิบัติใช้เพื่อหาแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับบริบทและความสามารถของบริษัท นอกจากนี้ผู้นำจะหาคำจำกัดความของธุรกิจไม่เพียงแค่จากข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอีกต่อไปแต่จะมองถึงวัตถุประสงค์ที่จะทำให้บริษัทเดินหน้าได้ในโลกที่มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


เกี่ยวกับผู้เขียน:

นาย อิษฎา หิรัญวิวัฒน์กุล ดำรงตำแหน่ง Partner & Managing Director ของบริษัท The Boston Consulting Group (BCG) จำกัด และเป็น โค้ชในการวิธีการทำงานแบบ Agile (Scrum Master®) รับรองโดย ScrumAlliance®  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ hiranwiwatkul.isada@bcg.com

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง