6 เคล็ดลับการสร้างกิจวัตร เพื่อเป็น Web Developer ที่ดี

23-พ.ย.-18

คัมภีร์เทพ IT

สำหรับคนไอทีที่เป็น Web Developer อยู่(รวมทั้งคนไอทีสายงานอื่น) ไม่ว่าคุณจะอยู่ในระดับ Junior, Senior หรือจะมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วกี่ปีแล้วก็ตาม อยากให้ลองอ่านบทความนี้ เพราะในบทความนี้จะมาบอก 6 เคล็ดลับการสร้างกิจวัตร เพื่อช่วยให้คุณเป็น Web Developer ที่ดี แต่จะมีเคล็ดลับใดบ้างนั้น ลองมาติดตามกันได้เลย

1. จับตามองเทคโนโลยีตลอดเวลา

Technology watch หรือการจับตามองเทคโนโลยี คือการที่คุณคอยติดตามความก้าวหน้าของนวัติกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่ง Antoine Lechenault ผู้เขียนบทความนี้ คิดว่ามันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่คุณจะเรียนรู้ได้จากการอ่าน แม้ว่าคุณอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดหรือเรียนรู้วิธีการที่พิเศษๆ บางอย่างที่บทความกล่าวถึง แต่คุณก็รู้ว่ามันมีอยู่และนั่นคือสิ่งที่สำคัญจริงๆ

ปัจจุบันมี Services และ Tools ต่างๆ มากมายที่คุณจะหาได้จากใน Internet คุณควรใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ รวมทั้งพวก Idea ใหม่ๆ อีกมากมายที่ออกมาแทบจะทุกวัน ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ซึ่ง Tool อย่าง Netvibes จะสามารถช่วยให้คุณประหยัดเวลาได้มากโดยการเผ้าติดตามข่าวสารเทคโนโลยีได้ในที่เดียว ซึ่ง Antoine แนะนำให้ติดตามบทความใหม่ๆ ในบางวัน เช่น วันจันทร์และวันพฤหัสบดี ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกวันก็ได้ ส่วน Website หรือ Forum ที่เขาอ่านเป็นประจำทุกสัปดาห์ก็มี:

แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือ บทความต่างๆ ที่คุณอ่านนั้น ควรจะเกี่ยวข้องกับสายงานหรือตรงกับทักษะไอทีของคุณด้วย

2. ติดตามเว็บไซต์ที่เจ๋งๆ

มันง่ายมากที่คุณจะเข้าถึง Websites, Resources หรือ Code experimentations ต่างๆ ที่น่าสนใจได้จากที่นี่:

แต่ประเด็นคือ คุณไม่ต้องมองไปที่พวกมันแล้วพูดว่า "ฉันคงไม่สามารถทำแบบนั้นได้หรอก"

ลองถามตัวคุณเองว่า คุณสามารถทำอะไรที่เจ๋งๆ ได้บ้างไหม และสามารถเข้าใจในสิ่งที่ถูกใช้เพื่อสร้างมันขึ้นมา อย่าง เทคโนโลยีใหม่ๆ, JavaScript library หรือ CSS property ใหม่ๆ ได้บ้างไหม เรากำลังอยู่ในยุคที่สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และเราก็ไม่สามารถเรียนรู้ได้เร็วเท่ากับการเติบโตของเทคโนโลยีเหล่านั้น คุณไม่เพียงควรพยายามทำความเข้าใจใน Process เท่านั้น แต่ควรพยายามที่จะ Reproduce และสามารถอธิบายมันได้ด้วย เพราะโดยทั่วไป ถ้าคุณสามารถสอนให้คนอื่นเข้าใจได้ คุณก็จะเก่งและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นด้วย

อย่าง Antoine เองก็ใช้เวลาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในการเปลี่ยน Process ของเขา ลองดูรายละเอียด วิเคราะห์ Website และทำความเข้าใจกับวิธีการที่คนเก่งๆ สร้างมันขึ้นมา ซึ่ง Process ทั้งหมดนี้ช่วยให้เขาสามารถรวมเทคนิคต่างๆ และหาวิธีการที่ฉลาดๆ ในการสร้าง Website ของเขา

3. เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า

โดยปกติเมื่อคุณเริ่มงานในตำแหน่งระดับ Junior ในบริษัท คุณจะได้รับคำแนะนำจากหัวหน้าทีมของคุณ ซึ่งจะคอยดู Code, ช่วยกำหนดตารางการทำงานของคุณ และป้องกันไม่ให้คุณลบ Database ทิ้งโดยไม่ได้ตั้งใจ จงอย่าอายที่จะขอเรียนรู้เพิ่มเติมจากหัวหน้าของคุณ ขอให้เขาช่วยบอกวิธีการทำในสิ่งเจ๋งๆ ใน Website ที่เพิ่ง Launch ออกไป หรือ Component ดีๆ ที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ทุกคนในทีมงานทำงานได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญที่สุด คือ อย่ากลัวว่า สิ่งที่คุณจะถามนั้นจะทำให้คุณดูเป็น “คนโง่” เพราะสิ่งที่ทุกคนเรียนรู้มาอาจไม่เหมือนหรือเท่ากันทั้งหมด จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะตั้งคำถามที่บางครั้งอาจดูเหมือนเรา "ไม่รู้" แต่คำตอบที่ได้มาจะช่วยให้คุณเก่งขึ้นได้ในอนาคต

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีคือการ Review Code หากในทีมของคุณไม่ได้ทำ คุณก็ควรเป็นคนแรกที่เสนอแนะให้แก่ทีม Dev ของคุณ จงอย่าลังเลที่จะขอให้สมาชิกคนอื่นในทีมช่วย Review และพยายามปรับปรุง Code ของคุณ ลองฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำไมคุณทำแบบนั้น ทำไมเราถึงทำแบบนี้ แลกเปลี่ยนความรู้กันในทีม จะช่วยให้ทุกคนเก่งขึ้นไปพร้อมๆ กันได้

4. อย่าละเลยที่จะ Comment ลงไปใน Code

เชื่อว่า ทุกคนคงเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนทั้งจาก Internet, รุ่นพี่ หรือจากอาจารย์ของคุณ ประเด็นในการ Comment ลงใน Code ของคุณ ไม่เพียงเพื่อให้ Developer คนอื่นๆ เข้าใจเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีที่ทำให้คุณคิดเกี่ยวกับ Function ของคุณก่อนที่จะเขียนลงไป มันช่วยให้คุณกำหนดวัตถุประสงค์ได้ชัดเจน ซึ่งควรมีเพียงแค่ 1 อย่าง

จงอย่าสร้าง multiSuperTaskFunction()

จากตัวอย่าง คุณเริ่มต้นเขียน Function เพื่อจัดการ planet ecosystem ด้วยการ Comment ใน Code จนเป็นนิสัย คุณจะจัดเรียงลำดับ Code ใน Function ต่างๆ โดยอัตโนมัติ และทุก Function ก็มีหน้าที่เพียง 1 อย่างให้ทำเท่านั้น

หลักการแบ่ง Function ออกเป็น Function ย่อยๆ จะช่วยให้คุณตรวจหา Bug ได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถแยก Elements ต่างๆ และนำมา Reuse ได้ในภายหลัง (Modular Components) อีกทั้งยังทำให้ Code อ่านง่ายขึ้นอีกด้วย

5. อย่าลืมที่จะ Refactor Code

เป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะกลับมาดู Code ของคุณ แล้ว Clean มันซะ เพราะมันสำคุญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนา Feature ใหม่ๆ เลย ครั้งต่อไปหาก Project Manager ของคุณถามว่า คุณทำอะไรในช่วงที่นอกเหนือเวลางาน คุณสามารถตอบได้อย่างเต็มปากว่า คุณกำลัง Refactor Code ของคุณอยู่

Martin Fowler ผู้แต่งหนังสือ Refactoring: Improving the Design of Existing Code กล่าวว่า “การ Refactor Code เป็นเทคนิคที่ใช้จัดการ เพื่อปรับปรุงการออกแบบของ Code base ที่มีอยู่ แก่นที่สำคัญของการ Refactor คือ การปรับเปลี่ยน Code ที่ละน้อยๆ โดยที่ Behavior ของ Code นั้นไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยการทำตามขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ คุณจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด Error”

ลอง Review Code ของคุณเอง แล้วปรับปรุง Code เหล่านั้นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ Function การทำงาน โดยทำให้มัน เร็วขึ้น, Clean ขึ้น, อ่านง่ายขึ้น และทำงานแยกเป็นส่วนๆ

วิธีการที่ Antoine ทำ ก็คือ แยกส่วนของ Code ที่ไม่ยากมากนักหรือ Code ที่ทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ ออกก่อน แล้วค่อยกลับมาทำในภายหลัง 1-2 สัปดาห์ มันมีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายสาเหตุที่คุณเขียน Code แย่ๆ ออกมา แต่คุณไม่สามารถโต้แย้งได้ว่า ทำไมคุณถึงไม่ใช้เวลาเพื่อปรับปรุงมัน ดังนั้น จงใช้เวลา ทำความเข้าใจความผิดพลาดของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเวลา ลดความเครียด และดีต่อสุขภาพของคุณในระยะยาว

6. ทำผิดพลาดบ้างก็ดี

ตอนที่ Antoine เริ่ม Coding ใหม่ๆ เขาพบว่า วิธีที่มีค่ามากในการปรับปรุงตนเอง ก็คือการล้มเหลวซ้ำๆ เชื่อเถอะว่า สำหรับข้อผิดพลาดบางอย่าง เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงมาก และมันก็เป็นเรื่องปกติด้วย

คุณเคยเขียน Function เดิมซ้ำๆ ถึง 5 ครั้งใน Project เดียวกันไหม? วำหรับ Antoine เขาเคยทำมาแล้วหลายครั้ง แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต ต้องขอขอบคุณประสบการณ์และความก้าวหน้าที่เขาได้สร้างขึ้นด้วยตนเอง จงอย่ากลัวที่จะทำผิดพลาด คุณสามารถพบกับความผิดพลาดได้หลายๆ ครั้ง แต่ควรให้มันเกิดขึ้นน้อยลงไปเรื่อยๆ คุณไม่ควรหยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และควรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะมันคือความงดงามของงานที่เราทำ จงเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกวัน

หวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้ จะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้คุณสร้างกิจวัตรหรือนิสัยของการเป็น Web Developer ที่ดีได้ หรือคนไอทีในสายงานอื่นก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

ที่มา:  https://medium.freecodecamp.org/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง