7 Checklist ที่ควรตรวจสอบ ก่อนจะ Launch Mobile App

13-ก.พ.-19

คัมภีร์เทพ IT

สำหรับ Developer ที่กำลังพัฒนา Mobile App อยากให้อ่านบทความนี้ เพราะจะกล่าวถึง 7 Checklist ที่ควรตรวจสอบ ก่อนจะ Launch Mobile App แม้ผู้เขียนบทความจะถนัดใช้งาน Android เป็นหลัก แต่ก็สามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้สำหรับ iOS ได้เช่นกัน เรามาดูกันว่า Checklist เหล่านั้น มีเรื่องใดบ้าง

1. ต้องแน่ใจว่า Test ผ่านหมดแล้ว

หากคุณเขียนแบบ End-to-End Unit และ Integration Test คุณควรระมัดระวังในการตรวจสอบผลลัพธ์ของมันอยู่เสมอ หากผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงกับที่ต้องการ คุณต้องทำให้มันทำงานอย่างถูกต้อง

2. พยายาม Clean Code เมื่อทำการ Full Build App ของคุณ อยู่เสมอ

หากคุณมีการเขียน Code ที่ยุ่งเหยิงบน Android และมีการใช้ ProGuard ด้วย คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันไม่ได้ไปลบ Code ส่วนที่จำเป็นออกไป ซึ่งอาจทำให้ App ของคุณทำงานผิดพลาดได้ การทำ Full Build สามารถทำได้บนเครื่องของคุณรวมไปถึงการใช้ Continuous Integration ด้วย

หากคุณหรือบริษัทของคุณมี Server เป็นของตัวเอง คุณสามารถ Setup CI Flow ของคุณโดยใช้ Jenkins (ซึ่งเป็น Free Open Source Automation Server) ถ้าไม่มี คุณสามารถใช้ CI Services ต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาดได้ เช่น Bitrise, CircleCI, Travis และ Bitbucket Pipelines

สำหรับ Travis ได้ถูก Integrate เข้ากับ Github เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น มันอาจเป็นทางเลือกที่ดีของคุณ แต่ถ้าคุณใช้ Bitbucket มันก็จะคล้ายกับ Bitbucket Pipelines

ส่วน Bitrise มีการ Integrate กับ Service ต่างๆ มากมาย เช่น Slack, Fabric, XCode Archive, CocoaPods, Gradle Runner, Jira และอื่นๆ อีกมากมาย

3. ทำการวิเคราะห์โครงสร้างของ Code

ลองดูว่า คุณใช้ Tools เหล่านี้หรือไม่ เช่น:

คุณควรเลือกใช้เฉพาะ Tools ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์ ในการช่วยเพิ่มคุณภาพของ Project ที่คุณกำลังทำงานอยู่

4. เตรียมเรื่องการ Debug และ Production Builds

ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณได้เตรียม Debug และ Production Version สำหรับ App ของคุณ แล้ว Release เพื่อทำการ Test กันภายในก่อน คุณอาจใช้ Crash Reporting Tools อย่าง Crash Reports ของ Instabug หรือ Fabric (Crashlytics) เป็นตัวช่วย

มันจำเป็นมากในการตรวจสอบว่า App ของคุณทำงานอย่างไรกับ Debug/Staging API รวมทั้งส่วนของ Production ด้วย สำหรับ Android แล้วมันสำคัญมากกับ Code ที่ยุ่งเหยิงแล้วตรวจสอบว่า มันตัด Code ส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปได้อย่างถูกต้อง

เมื่อทำการ Release Version สำหรับทีมของคุณ คุณสามารถใช้ TestFlight สำหรับ iOS และ Google Play Test Channel สำหรับ Android คุณอาจพิจารณาพวก Tools ฟรี อย่างเช่น Fabric (แต่อาจจะปิดตัวในกลางปี ​​2019) หรือ Hockey App (ที่กำลังเปลี่ยนไปเป็น App Center) ก็ได้

5. Automate

การเตรียม Build สามารถเป็นแบบอัตโนมัติได้เช่นกัน คุณอาจเคยได้ยิน Fastlane มาบ้าง ซึ่งมันเป็น Free Tool สำหรับทำ Automating Screenshots , Beta Deployment, App Store / Google Play Deployment และ Code Signing ซึ่งมันได้รับการSupport โดย CI และ Distribution Services ทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้

การ Configuration ค่า สำหรับ Android และ iOS ค่อนข้างทำได้ง่าย แต่สามารถทำได้เฉพาะในกรณีที่คุณมี macOS มันน่าเสียดายที่ไม่มีการ Support ใน Platform อื่นที่ไม่ใช่ macOS ในขณะนี้ นี่เป็นความเจ็บปวดสำหรับ Android Developer ที่เขียน Code บน Linux และ Windows แต่...มันก็มีทางออกอื่นๆ

Gradle Play Publisher เป็น Gradle Plugin ที่ทำการ Upload App Bundle หรือ APK และส่วนอื่นของ App ไปยัง Google Play Store ได้โดยอัตโนมัติ มันเป็นตัวเลือกที่ดีนอกเหนือจาก Fastlane นอกจากนี้ยังครอบคลุมในส่วนของ Documentation ด้วยและช่วยให้คุณสามารถ Configuration ค่าต่างๆ ใน Tool ได้อย่างสะดวกอีกด้วย

6. คุณต้องรู้จักและฟัง User ของคุณ

แม้ว่าคุณดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ข้างต้นครบแล้ว แต่อาจมีหลายครั้งที่คุณรู้สึกเหมือนไม่มีใครใส่ใจหรือไม่มีเวลาที่จะให้ Feedback มันเป็นเรื่องยากที่จะให้ทีมเข้ามาช่วยตรวจสอบและเล่น App ที่เพิ่ง Release ออกไป

ตัวช่วยในเรื่องนี้คือ Instabug ซึ่งผู้เขียนบทความนี้ได้ใช้เวลาทำการวิจัยเกี่ยวกับ Tool ที่ช่วยรวบรวม Feedback, Bugs, Reports เป็นต้น มาเกือบ 3 ปี จนหันมาใช้ Instabug เรื่อยมา ซึ่งมันง่ายมากที่จะ Integrate เข้ากับ App ของคุณ (รองรับ Android, iOS, React Native, Xamarin, Unity, Cordova) ซึ่งเป็น Code ไม่กี่บรรทัดเท่านั้น

แล้วเครื่องมือนี้ทำอะไรได้บ้าง:

  • User ของคุณสามารถเขย่าโทรศัพท์มือถือและเขียน Feedback ด้วยภาพ Screenshots ที่ถ่ายไว้แล้ว พวกเขายังสามารถวาดหรือบันทึกภาพเคลื่อนไหวว่าอะไรขาดหายไปบ้างหรือจะ Reproduce Bug ได้อย่างไร ซึ่งมันมีประโยชน์เป็นอย่างมาก
  • แทนที่จะติดต่อ Developer ผ่านแบบฟอร์ม แต่ End-User สามารถสอบถามเกี่ยวกับ Feature หรือให้ Feedback โดยใช้ In-App Chat ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อกับ User ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ Developer สามารถตอบกลับ User ที่ส่ง Bug Reports หรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น อีกทั้งสามารถบอก User ว่า Bug/ข้อผิดพลาดต่างๆ ได้รับการแก้ไขแล้ว
  • ใช้ In-App Feature Requests และ Support Backlog ของคุณโดยให้ความสำคัญกับ User เป็นหลัก

7. ทำการติดตามผล

ช่วงที่ App อยู่ใน Production แล้ว แต่คุณความรู้สึกว่า ผู้คนอาจไม่ใช้ App ของคุณ จะทำอย่างไรดี?

คุณสามารถ Integrate Tools อย่าง Google Analytics, Fabric, Amazon Pinpoint, Mixpanel หรือ Segment.io เพื่อตรวจสอบและติดตามผลของสิ่งเหล่านี้ได้:

  • active users
  • session intervals
  • time in the app
  • screen flow
  • retention
  • conversion
  • life time value

หวังว่า Checklist เหล่านี้ น่าจะเป็นประโยชน์กับ Mobile Developer ที่จะใช้ในการตรวจสอบก่อนที่จะ Launch App ของคุณออกไป

ที่มา:  https://medium.freecodecamp.org/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด