The Best Back-End Frameworks for 2021
04-Nov-20
คัมภีร์เทพ IT
See the original english version Click here!
1. ASP.NET

ASP.NET เป็น Cross-Platform Framework แบบ Open Source ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้าง Web Applications และ Services ด้วย .NET และ C# มันเป็น Extension ของ .NET พร้อมทั้ง Tools และ Libraries ที่มีไว้รองรับตามความต้องการของ Web Application มันใช้ Model View Controller (MVC) และ Web Page Templating Syntax ที่เรียกว่า Razor เพื่อสร้าง Web Page แบบ Dynamic โดยใช้ C# ซึ่ง ASP.NET มี Multi-Factor Authentication ซึ่งรวมถึง Libraries, External Authentications และ Template Pages สำหรับจัดการกับ Logins และด้วย Ecosystem ขนาดใหญ่ Developers สามารถเขียน Code ใน C# ซึ่งจะถูก Evaluate บน Server และ Execute Code ฝั่ง Client-Side ที่ถูกเขียนโดย JavaScript
3. Express

Express เป็น Node.js Framework ที่เรียบง่ายแต่รวดเร็ว Express Framework ถูกใช้เพื่อสร้าง Web Services ที่มีประสิทธิภาพด้วยความช่วยเหลือของ HTTP Utility Methods และ Middleware ต่าง ๆ Framework ถูกออกแบบมาเพื่อสร้าง Web Applications และ APIs ที่มีน้ำหนักเบา มันช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนา Dynamic Web Pages อย่างรวดเร็วโดยอนุญาตให้ HTML Pages แสดงผลตามการส่งผ่าน Arguments ไปยัง Templates
5. Laravel

Laravel เป็นหนึ่งใน PHP Framework ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในการสร้าง Web Services ที่มีประสิทธิภาพและ Dynamic Applications โดย Laravel เป็น Open Source Framework ที่เป็นไปตามรูปแบบของ MVC มันเต็มไปด้วย Components ที่มีประโยชน์ที่จำเป็นต่อการพัฒนา Backend และด้วย Interface ที่ใช้งานง่าย นั่นเป็นเพราะ PHP Framework มี Command-Line Tools ที่มีประสิทธิภาพ, Database Migration, Blade Template Engine, CLI, และ Functions อื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมากมาย
7. Ruby on Rails

Rails เป็น Framework ที่ถูกเขียนขึ้นจากภาษา Ruby มันเป็น Server-Side MVC Framework ที่สามารถใช้สร้าง Database Structures และ Web Services ที่มี Features มากมาย โดยใน Rails นั้น Data จะถูก Transfer โดยใช้ JSON และ XML Format ในขณะที่ Front End Pages นั้น Data จะถูก Transfer โดยใช้ HTML, CSS และ JavaScript สำหรับ Framework นี้มีชุดของ Tools ที่หลากหลาย รวมทั้งสามารถ Integrate ได้กับ Plugins หลายตัว และ Test Environment อีกด้วย
9. Node.js

Node.js เป็น Cross-Platform และ JavaScript Environment แบบ Open Source ที่ใช้ในการสร้าง Web Applications โดย Node ถูกเขียนด้วยภาษา C, C++ และ JavaScript ซึ่ง Execute Code นอก Web Browser ซึ่ง Framework นี้เป็นส่วนผสมของ Runtime Environments และ JavaScript Libraries เป็นจำนวนมาก การเขียน Program ด้วย Node.js นั้นนอกจากจะรวดเร็วในการ Execute Code Single-Threaded แล้ว ยังสามารถ Deploy Applications ที่สามารถปรับขนาดได้สูงอีกด้วย
ที่มา: https://wp-api.agiratech.com/
รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert
อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ
บทความล่าสุด