ประสบการณ์จริงไม่อิงตำราจาก SA รุ่นเก๋า

08-มิ.ย.-16

IT Insider

 

  1. มองในมุมของ user พอๆ กับในมุมของ developer
    ไม่ว่าเทคโนโลยีสุดยอดอลังการแค่ไหน มันแทบจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาหรือทำให้ประสบการณ์การใช้งานของ user ดีขึ้น

     
  2. แยกให้ออกระหว่าง “ระบบที่จำเป็นต้องมี” VS “ระบบที่มีหรือไม่มีก็ได้”
    ยกตัวอย่าง ถ้าการเพิ่ม features เสริมเข้ามาอีก 10% จะทำให้เสียเวลามากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ต้องแจ้งให้นายจ้างรับรู้ถึงผลกระทบนี้ (ขีดเส้นใต้ไว้เลย!) และรับผิดชอบกับการตัดสินใจนี้ เพราะถ้าโปรเจคใช้เวลานานเกินความจำเป็น บริษัทจะเสียหายและไม่เกิด ROI สุดท้ายคุณเองที่จะถูกตำหนิ

     
  3. อัพเดทและพัฒนาทักษะด้านไอทีอยู่เสมอ 
    เมื่อรับ requirements ของ user มาแล้ว ก่อนที่คุณจะกำหนด specs ให้ programmer คุณจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องศักยภาพและข้อกำจัดของเทคโนโลยีใหม่ๆ รู้ว่าเทคโนโลยีไหนที่จะช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายได้ มันช่วยให้คุณคุยกับโปรแกรมเมอร์รู้เรื่องและเขาจะเคารพคุณ

     
  4. วางตัวเป็นพวกเดียวกับทั้ง user และ programmer 
    ทำให้เค้ารู้สึกว่า คุณมาช่วยแก้ปัญหา คุณจะได้รับความร่วมมือเมื่อคุณต้องการข้อมูลจากพวกเขา เพื่อให้งานอยู่บนพื้นฐานระหว่างความต้องการของลูกค้าและความเป็นจริงที่สามารถทำได้ แต่ถ้าคุณวางตัวอยู่ฝั่งตรงข้าม แทนที่จะได้งาน ดีไม่ดีอาจได้วางมวยแทน

     
  5. คิดบวก มองปัญหาให้เป็นเรื่องท้าทาย
    ถึงแม้จะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย แต่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างความต้องการของลูกค้าและสิ่งที่ developer สามารถตอบสนองได้ก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงลำบาก พยายามมองเรื่องนี้ให้เป็นสิ่งท้าทายที่จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของคุณ เพราะมันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าในตัวคุณในสายอาชีพ SA

 



คำแนะนำจาก: แคทลียา ธงชัยเวชรัตน์
Oracle Functional Consultant at Hitachi Consulting (Thailand) Ltd.


 

หมายเหตุ: รุ่นพี่คนไหนมีเรื่องราวไอทีดีๆอยากแบ่งปัน สามารถอีเมล์มาที่ itrockstar@techstarthailand.com


 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

อัพเดทงาน SA ก่อนใคร ลงทะเบียน คลิกที่นี่


หางาน SA คลิกที่นี่