9 เคล็ดลับ JavaScript ที่ Developer ควรจดจำให้ได้

04-ต.ค.-19

คัมภีร์เทพ IT

JavaScript ถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับ Full Stack Development แต่มีหลายครั้งที่ Developer ก็ที่ทำในสิ่งที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น ซึ่งมันอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ใน Environment ของการ Develop และเพื่อลดปัญหาข้างต้น เรามาดู 9 เคล็ดลับ JavaScript ที่ Developer ควรจดจำให้ได้

1. ใช้“ var” เมื่อต้องการสร้างตัวแปรใหม่

เมื่อใดก็ตามที่คุณกำลังสร้างตัวแปรใหม่ โปรดจำไว้ว่าให้ใช้ var” ที่ด้านหน้าชื่อตัวแปร ยกเว้นว่า คุณต้องการสร้างตัวแปรแบบ Global (Global Variable) ที่แนะนำแบบนี้ก็เพราะ ถ้าคุณสร้างตัวแปรโดยที่ไม่ใช้ var” จะทำให้ Scope ของมันเป็นแบบ Global ไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งในบางกรณีมันอาจสร้างปัญหาให้คุณได้

นอกจากนี้ยังมี Option อื่น ๆ ที่คุณสามารถใช้ได้ นั่นคือ “let” และ “const” ด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้ในกรณีใด

สำหรับ let” statement จะอนุญาตให้คุณสร้างตัวแปรโดยมี Scope ที่จำกัดอยู่เฉพาะใน Block ที่ใช้งานเท่านั้น

ลองพิจารณา Code Snippet ด้านล่างนี้ดู:

จะว่าไปแล้ว มันก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับภาษาส่วนใหญ่ที่พวกเรารู้จักกันอยู่แล้ว

Error Message: Uncaught SyntaxError: Identifier ‘a’ has already been declared.

Code จะแสดง Error ออกมา หากเราพยายามประกาศตัวแปร a ซึ่งเคยถูกประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้ var มันจะไม่เกิด Error

เมื่อเราใช้ let statement จะทำให้ตัวแปรมี Scope การใช้งานที่ชัดเจน ขณะเดียวกันเมื่อใช้ภายใน Function แล้ว let statement จะทำให้ Code ของคุณ Clean และ Clear มากยิ่งขึ้น

เชื่อว่าตัวอย่างที่แสดงให้เห็นด้านบน จะช่วยทำให้คุณมีความเข้าใจใน var และ let command ได้ดียิ่งขึ้น

ส่วน const” statement จะสามารถถูก Assign ได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จะไม่สามารถถูก Assign ซ้ำใหม่ได้อีก สำหรับ Scope ของ const statement ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับ let statement

คำถาม: แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หากเราพยายาม Assign ตัวแปร const ซ้ำอีกครั้ง?

ลองพิจารณา Code Snippet ที่อยู่ด้านล่างนี้:

จะเกิด Error Message: Uncaught TypeError: Assignment to constant variable.

Code จะแสดง Error ออกมา หากเราพยายาม Assign ตัวแปรประเภท const ที่เคยถูก Assign ไปแล้ว

2. กรณีต้องการเปรียบเทียบ ให้ใช้ “===”แทนการใช้ “==” (Strict equal) เสมอ

ที่ให้ใช้ “===” แทน “==” ก็เพราะ หากคุณใช้ “==” จะมีการแปลง type โดยอัตโนมัติ ซึ่งบางกรณีอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดได้

มันให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ก็เพราะ ใน “===” จะเปรียบเทียบกันระหว่าง value และ type

3.สำหรับ undefined, null, 0, false, NaN และ ‘’ (empty string) จะถือเป็น False conditions

4. การทำให้ Array ว่าง

5. การปัดเศษทศนิยมให้มีจุดทศนิยม N ตำแหน่ง

6. การตรวจสอบว่า การคำนวณของคุณจะให้ผลลัพธ์ที่เป็น Finite (สามารถหาค่าได้) หรือไม่

ขอยกตัวอย่าง เพื่อทำความเข้าใจกับกรณีการใช้งานของ Function นี้

สมมติว่า คุณได้เขียน Database Query บน Table ซึ่งมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก และหลังจากที่ได้ Execute Query แล้ว คุณรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับค่าผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของ Query นั้น ข้อมูลของ Query เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่คุณใส่เข้าไป ซึ่งในกรณีเช่นนี้ คุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ว่ามีคุณสมบัติเป็น Finite (สามารถหาค่าได้) หรือไม่ และหากคุณใช้ผลลัพธ์นั้นโดยตรง ก็สามารถทำให้คุณมีเงื่อนไขที่เป็น Infinite (ไม่สามารถหาค่าสิ้นสุดได้) ซึ่งแน่นอนว่าอาจสร้างปัญหาให้กับ Code ของคุณ

ดังนั้น ขอแนะนำให้คุณใช้ isFinite() ก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ เพื่อที่เราจะได้สามารถจัดการค่า Infinite ได้อย่างเหมาะสม

7. ใช้ switch/case statement แทนการใช้ชุดของ if/else

การใช้ switch/case จะรวดเร็วกว่า if/else ในกรณีที่คุณมีมากกว่า 2 cases และมันก็ดูดีกว่าด้วย (สามารถจัดการจัดระเบียบ Code ได้ดีกว่า) แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานพวกมัน หากคุณมีมากกว่า 10 Cases

8. ใช้ “use strict” ภายใน File ของคุณ

การใช้ “use strict” จะช่วยทำให้คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการประกาศตัวแปร ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดถึงไปแล้วในข้อที่ 1

หากคุณใช้ “use strict” จะช่วยทำให้คุณหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในตัวอย่างด้านบน แต่การใช้ “use strict” ก็อาจทำให้คุณเจอกับ Error เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้เช่นกัน

คุณอาจสงสัยว่าทำไม คุณถึงไม่สามารถวาง “use strict” ไว้นอก Function ได้ อันที่จริง คุณสามารถวางไว้นอก Function ได้ แต่มันจะถูกตีความว่าเป็น Global ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ แม้มันจะไม่ได้แย่มากนัก แต่มันอาจจะเกิดผลกระทบ หากคุณมี Code ที่มาจาก Library อื่น ๆ หรือหากคุณรวมทุกอย่างไว้ใน File เดียว

9. ใช้ && และ || เพื่อช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น

นอกจากนี้ อย่าลืมใช้เครื่องมือที่ช่วยตกแต่ง Code ของคุณขณะที่คุณเขียน Code ด้วย คุณสามารถใช้ JSLint และ minification (อย่างเช่น JSMin เป็นต้น) ก่อนที่จะเผยแพร่ออกไป สิ่งนี้จะช่วยให้คุณรักษามาตรฐานการเขียน Code ใน Project ของคุณ และพยายามทำให้มันเป็นมาตรฐานเท่าที่คุณจะสามารถทำได้

ที่มา:  https://medium.com/

 

ดูตำแหน่งงานที่ใช้ทักษะเกี่ยวกับ JavaScript คลิกที่นี่

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด