9 คำสั่ง Git ที่จะช่วยให้คุณเป็นมือโปรมากขึ้น

03-ส.ค.-22

คัมภีร์เทพ IT

Git มีบทบาทสำคัญต่องานที่ทำกันอยู่ทุกวันสำหรับ Developer โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม มันช่วยให้ Developer สามารถทำงานร่วมกันใน Project เดียวกันได้ มีคำสั่ง Git อยู่มากมายที่ Developer บางคนก็ใช้งานอยู่ทุกวัน บางคำสั่งก็ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายนัก แต่ก็คุ้มค่าที่รู้ว่ามันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง และบทความนี้ก็คือ 9 คำสั่ง Git ที่จะช่วยให้คุณเป็นมือโปรมากขึ้น

1. Add และ Commit ในคำสั่งเดียว

คำสั่งที่มักจะใช้งานกันบ่อยที่สุดใน Git คือ git add ตามมาด้วยคำสั่ง git commit

ส่วนใหญ่ เรามักจะต้องการจะ Add File ที่ถูก Change ทั้งหมด ดังนั้น แทนที่จะเขียนทั้ง 2 คำสั่ง เราสามารถรวมทั้ง 2 คำสั่งเข้าด้วยกันโดยใช้ -am Flag โดยจะทำทั้ง 2 อย่างคือ git add . และ git commit

2. Copy Changes จาก Branch อื่น

มีบางสถานการณ์ที่เราต้องการ Add Changes ไปยังหลาย ๆ Branches ตัวอย่างเช่น หากมี 2 Versions และเราก็ Support ทั้ง 2 Versions ดังนั้นเราก็ควรที่จะ Commit Changes ของทั้ง 2 Branches 

สมมติว่ามี 2 Branches คือ branchA และ branchB แทนที่เราจะ Commit ไปทีละ Branch เราสามารถใช้คำสั่ง git rebase แทนได้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ BranchA จะมีลักษณะเหมือนแตก Branch ออกมาจาก BranchB

3. Add Changes ใน Commit ล่าสุด

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยอยู่ในสถานการณ์ที่ลืม Changes บางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ กันไปบ้าง ซึ่งเราต้องทำการ Commit มันใหม่ กรณีที่ Changes เหล่านั้นไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เราสามารถ Add มันเข้าไปในการ Commit ครั้งสุดท้ายโดยใช้ amend Flag

การใช้ — no-edit Flag จะช่วยให้เราสามารถนำ Changes ไปใช้กับการ Commit ครั้งล่าสุดโดยที่ไม่มีการแก้ไข Commit Message 

4. Remove File จาก Commit

หากเราต้องการลบบาง File ที่ถูก Commit ไปยัง Branch ในกรณีนี้เราสามารถใช้คำสั่ง git reset ได้

สิ่งนี้จะช่วยนำ File ที่ถูก Commit ไปยัง Staging Area จากนั้นเราก็จะสามารถระบุได้ว่า ต้องการที่จะลบ File ใด

5. หา Commit ที่มี Bugs

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์ที่มี Bug และคุณต้องค้นหาว่า Bug นี้เกิดขึ้นเมื่อใดและอย่างไร? ถ้าคุณรู้จักคำสั่งนี้อยู่แล้ว เชื่อว่า Process นี้จะทำได้เร็วและง่ายขึ้น การใช้ git bisect นั้น เราสามารถค้นหา Commit ที่เกิด Bug ขึ้น โดยขั้นแรกให้ระบุว่าเป็น bad” สำหรับ Commit ที่มี Bug และ good” สำหรับ Commit ที่ไม่มี Bug 

เมื่อทำเสร็จแล้ว เราควรใช้คำสั่ง git bisect reset เพื่อ Clean Stage และให้ Return กลับไปสู่ Original HEAD

6. ดู History ในรูปแบบ Graph

หากเราต้องการดู git history ของเราในรูปแบบ Graph สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยคำสั่งเดียว

คุณอาจจะไม่ค่อยได้ใช้คำสั่ง git log ทุกวัน แต่ก็มีตัวย่อง่าย ๆ ที่คุณสามารถใช้เพื่อให้สามารถจดจำคำสั่งได้

คือ “A DOG” = git log — All — Decorate — Oneline — Graph

7. ดูความแตกต่างระหว่าง Branches

หากเราต้องการดูว่าทั้ง 2 Branches มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราสามารถใช้คำสั่ง git diff ได้

หากเราไม่ต้องการเห็นความแตกต่างของทั้งหมด แค่ต้องการเห็นความแตกต่างของชื่อ Files เท่านั้น เราสามารถเพิ่ม name-only Flag เข้าไปได้

8. แสดง Commit ของ File ที่มีการ Change

มีบางกรณีที่เราต้องการดู Changes ทั้งหมดใน File หนึ่ง ๆ และสามารถทำได้โดยใช้ git log ตามด้วย follow Flag

9. คืนค่า Local Changes ทั้งหมดให้กลับสู่สภาพเดิม

มีหลายวิธีในการลบ Local Changes ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ

หากคุณต้องการคืนค่า Changes กลับไปสู่ Working Copy ของคุณ ให้ใช้:

หากคุณต้องการลบ Commits ทั้งหมด ที่ยังไม่ได้ Push กลับไปยัง Master ให้ใช้:

หากคุณต้องการคืนค่า Changes กลับไป ด้วยการ Commit:

หากคุณต้องการลบ Files หรือ Directories ที่ไม่ได้ถูก Track ไว้ ให้ใช้:

ที่มา: https://bootcamp.uxdesign.cc/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด