5 สิ่งที่ Dev มือใหม่ มักทำพลาด พร้อมวิธีแก้ไข

11-พ.ค.-18

คัมภีร์เทพ IT

ในการทำงาน ทุกคนล้วนมีโอกาสทำงานผิดพลาดเสมอ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Developer/Programmer มือใหม่ ที่อาจยังมีชั่วโมงการทำงานที่น้อยอยู่หรือยังเจอไม่มีโอกาสได้เจอปัญหาที่หลากหลายมากพอ วันนี้ทีมงานมีบทความเกี่ยวกับ 5 เรื่องที่ Developer มือใหม่มักผิดพลาด พร้อมวิธีแก้ไข มาให้อ่านกันเพื่อจะได้ไม่พลาดแบบนี้อีกในอนาคต

1. ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งชื่อ

ตั้งแต่ช่วงต้นของการฝึกเขียน Program พวกเราก็มักจะใช้การกำหนดชื่อตัวแปรของเราด้วยตัวอักษรง่ายๆ ทั่วไป เช่น i, j, k เป็นต้น และดูมีแนวโน้มเราจะนำวิธีกำหนดชื่อง่ายๆ แบบนี้ ไปใช้ในการทำงานจริงๆ ด้วย แต่กฎสำคัญใน Industry นี้คือ " Code นั้น ควรจะอ่านแล้วสื่อความหมาย เข้าใจได้ง่าย" เพราะยิ่งงานชิ้นใหญ่แค่ไหน ก็มีคนจำนวนคนทำงานมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงควรตั้งชื่อไม่ว่าจะเป็น variable, method, class และ package ให้มีความหมายที่เข้าใจได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาอธิบายให้เพื่อนร่วมทีมหรือคนอื่นที่จะต้องมาดูแลงานนี้ในอนาคต

2. Method มี Code ที่ยาวเกินไป

ในข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับ Modularity ซึ่งเป็นการแบ่งโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยทุกๆ unit ของ การทำงานสามารถเป็น Method ได้ และการที่ Method มี Code มากกว่า 25 บรรทัดนั้น แม้จะไม่ถือว่ายากต่อการอ่าน แต่มันอาจถูกตีความผิดพลาดได้ Method ยิ่งยาวเท่าไร ยิ่งมีแนวโน้มการทำงานที่ผิดพลาดได้ ดังนั้น จะดีกว่า ถ้าเราเขียน และทดสอบ unit ให้มีขนาดเล็กๆ

3. การออกแบบ Class

หัวข้อนี้เป็นการ Design แบบ Object Oriented เป็นการตัดสินใจว่าจะ Design Class อย่างไร จะมีกี่ Class และมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทักษะเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเข้าใจ แต่มือใหม่มักจะเลือกใช้วิธีง่ายๆ คือเมื่อเจอ Noun ก็ทำเป็น Class เมื่อเจอ Verb ทำเป็นชื่อ Method ซึ่งวิธีนี้ มันอาจจะไม่ Work เสมอไปในการทำงานจริง

4. การทดสอบ Negative Test Scenarios/Cases

Negative test scenarios ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการทดสอบว่า Solution นั้นดีมากน้อยแค่ไหน เราอยู่ในโลกที่มีโอกาสถูกโจมตีทาง Cyber และใน Industry เองก็ต้องระมัดระวังยิ่งขึ้นในการจัดการกับการโจมตีนั้น เนื่องจากอาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อมต่อรายได้ขององค์กร มันไม่ใช่เพียงแค่ความรับผิดชอบของ QA ในการทดสอบ Negative Cases แต่รวมถึง Developer ที่รับผิดชอบการสร้าง Negative Test Scenarios รวมทั้ง Solutions ด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้คุณมีทักษะที่โดดเด่นกว่า Programmer คนอื่นๆ

5. การปรับปรุงให้ดีขึ้น กับ การเปลี่ยนแปลง Requirement

เราอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเกิดขึ้นเสมอ สิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้คือ การแยกความต่างระหว่าง การปรับปรุงให้ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลง Requirement คุณอาจเริ่มต้นด้วยการแก้ปัญหาของวันนี้ แต่มองเผื่อไปถึงวันข้างหน้าด้วยการมี Solution ที่จะแก้ไขหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงื่อนไขด้าน Operation ด้วย (เช่น Traffic, ลูกค้า, การแข่งขันใน Industry เป็นต้น) และสามารถกล่าวได้ว่า Software Development ถือเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากในการปรับปรุง Solution เพื่อแก้ไขปัญหาเก่าๆ

จากข้างต้น Amulya Bandikatla ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความนี้ หวังว่าน่าจะทำให้ Developer/Programmer มือใหม่เข้าใจมากขึ้นและจะได้ลดความผิดพลาดในการเขียน Code ในอนาคตได้อีกด้วย

ที่มา:  https://www.codementor.io/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง