8 ตัวอย่าง การใช้งาน SCP Commands ใน Linux

17-ส.ค.-22

คัมภีร์เทพ IT

SCP ย่อมาจาก Secure Copy ซึ่งเป็นคำสั่งที่ถูกใช้งานกันบ่อยสำหรับ Backend หรือ DevOps Developers และในบทความนี้จะมาแนะนำ 8 ตัวอย่าง การใช้งาน SCP Commands ใน Linux หลังจากอ่านบทความแล้ว เชื่อว่าคุณจะสามารถทำงานได้สะดวกหรือแนะนำให้คนอื่น ๆ ในทีมได้

1. Upload Local Files ไปยัง Remote Server

โดยทั่วไปแล้ว Syntax ของคำสั่ง SCP นั้นค่อนข้างง่าย:

ดังนั้น ถ้าเราต้องการ Upload Files test.txt ไปยัง Server จะมีคำสั่งดังนี้:

สำหรับข้อมูลของ Remote Server เราต้องระบุ User Name, IP Address และ Path ที่เราต้องการที่จะวาง File และควรจะมี @ ระหว่าง User Name และ IP Address และมี : อยู่ระหว่าง IP Address และ Path

Upload หลาย ๆ Files พร้อมกัน เพียงเพิ่มพวกมันเป็น Sources:

2. Fetch Files จาก Remote Server

สำหรับการดำเนินการนี้ เราเพียงแค่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของ Sources และ Destinations:

เราไม่จำเป็นต้องใช้ File Name เดียวกันเสมอไป:

คำสั่งด้านบนนี้ จะทำการ Fetch test.txt File จาก Remote Host แต่ตั้งชื่อเป็น tst.txt ในเครื่อง Computer

3. Transfer Files ระหว่าง 2 Hosts

Feature นี้จะทำให้คำสั่ง SCP มีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณสามารถ Transfer Files ระหว่าง 2 Hosts ใด ๆ ได้อย่างแท้จริงไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม (คุณสามารถทำสิ่งนี้บน GUI Tool ได้หรือไม่? บางที Tool บางอย่างก็อาจรองรับสิ่งนี้ แต่ทำไมคุณถึงต้อง Download มันให้ยุ่งยากล่ะ?)

4. Transfer Files หรือ Directories ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ

หากคุณต้องการ Transfer Directory ที่มี Files อยู่เป็นจำนวนมาก แน่นอนว่า -r option คือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ และตามชื่อของมันเลย มันจะช่วยให้คุณ Transfer Directory แบบซ้ำ ๆ บ่อย ๆ

5. เพิ่มความเร็วในการ Transfer ด้วย Compression

การ Transfer Directory ที่มีขนาดใหญ่ มักต้องใช้เวลานาน คำถามคือ มีโอกาสที่เราจะเร่งความเร็วได้หรือไม่?

มี option ที่น่าทึ่งคือ -C โดยมันสามารถ Compress File ที่ Source และทำการ Decompress File ที่ Destination Host ให้โดยอัตโนมัติ และแน่นอนว่าการ Transfer File ที่ถูก Compressed นั้น รวดเร็วกว่า

6. ใช้ Key File สำหรับ Authentication

ในการเชื่อมต่อ Remote Server การใช้ Key จะปลอดภัยกว่าการป้อน Password ทุกครั้ง เช่นเดียวกับคำสั่ง SSH เรายังสามารถใช้ -i option แล้วต่อท้าย Key File สำหรับการ Authentication

7. ระบุ SSH Port ต่าง ๆ

ภายใต้การทำงานนั้น คำสั่ง SCP ใช้ SSH Protocol และ Default Port ก็คือ 22 เราสามารถเปลี่ยน Default Port ได้โดยใช้ -P option

8. ระบุ Encryption Algorithm สำหรับ Data Transmission

สุดท้ายของบทความนี้ ยังมี -c option ซึ่งสามารถระบุ Encryption Algorithm สำหรับการส่งผ่าน Data ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่คุณต้องการใช้ Blowfish Algorithm:

ที่มา: https://medium.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด