6 Terminal Commands ที่คุณควรรู้จักไว้

10-มิ.ย.-20

คัมภีร์เทพ IT

ในฐานะของ Developer มี 2 สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง Productive Setup ก็คือ ความเร็วและประสิทธิภาพ เมื่อคุณต้องทำงานใน Command-Line การที่คุณได้รู้จักวิธีใช้งานมัน จะช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็วขึ้น และนี่ก็คือ 6 Terminal Commands ที่คุณควรรู้จักไว้

1. SSH Agent และ Private Keys

คุณเคยทำงานเกี่ยวกับ Feature และพยายาม Push การเปลี่ยนแปลงใน Git ของคุณไปยัง GitHub จนเสร็จ หรือเคย Access เข้า Remote Server ผ่าน SSH แล้วได้รับข้อความ Error หรือ Password Prompt หรือไม่ สาเหตุของปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ คุณมีการ Restart Computer ของคุณในบางช่วง และ SSH Agent ของคุณก็หายไป (รวมถึง Keys ที่ถูก Add เข้าไป)

วิธีง่าย ๆ ในการแก้ไขปัญหานี้ คือ การ Restart Agent ของคุณ และทำการ Add SSH Keys เพิ่มเข้าไปอีกครั้ง คุณสามารถเพิ่ม Alias นี้ไปยัง Bash Profile ของคุณ จากนั้นสิ่งที่คุณต้องทำก็คือ พิมพ์ addkey เพื่อให้ทุกอย่างกลับมาทำงานเหมือนเดิม อย่าลังเลที่จะเปลี่ยน "addkey" ให้เป็นสิ่งที่เหมาะกับ Style ของคุณ

อย่าลืมว่า เมื่อใช้คำสั่ง ssh-add คุณต้องแน่ใจว่า Key ของคุณจะอยู่ใน ~/.ssh/id_rsa เพื่อที่มันจะได้ถูก Add เข้าไปโดยอัตโนมัติ หากคุณทำการตั้งชื่อ Key ของคุณใหม่ หรือมี Keys หลายตัวที่คุณต้องการจะ Add เข้าไป คุณสามารถระบุชื่อโดยใช้ Path เป็น Argument ดังตัวอย่างนี้

คุณสามารถเพิ่มสิ่งนี้ลงใน Bash Profile ของคุณ เพื่อที่จะได้รับการ Execute ทุกครั้งที่คุณเปิด Terminal Window ใหม่ นี่เป็นบทความที่ดีเยี่ยม โดย Adam Towers ในการ Customize Profile ของคุณ จากนี้ไปคุณคงจะไม่ลืมที่จะ Add Keys ของคุณเข้าไปอีกแล้ว

2. Network Discovery ด้วย Ping6

คุณคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ Ping บ้าง แล้วเคยได้ยินเรื่องที่(น่ากลัว)เกี่ยวกับ Ping6 ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับการ Ping IPv6 Addresses ล่ะ เคยได้ยินมาบ้างไหม?

คุณสามารถทำบางสิ่งได้เช่นเดียวกันกับการ Ping Ping IPv6 Addresses แล้วดูการ Reply กลับ แต่ก็มี Features ที่มีประโยชน์ซ่อนอยู่ เพียงแค่คุณต้องรู้ว่า จะต้องดูที่ไหน

เมื่อคุณส่ง Special Address นี้ (ซึ่งเป็นคำนำหน้า) ไปยัง Ping6 และระบุว่าจะส่งจาก Interface ใด (โดยการแทนที่ en0) คุณจะสามารถดูได้ว่า มีใครบ้างที่ Respond และดู Address ของพวกมันอยู่

สิ่งนี้มีประโยชน์สำหรับการค้นหา Network รวมทั้งการ Access เข้า Systems ที่คุณใส่ Address ผิด คุณอาจได้ Interact กับ Equipment จำนวนมากที่ใช้ IPv6 Addresses และมีช่วงที่ยากลำบากที่ต้องจดจำมัน ดังนั้น การที่คุณสามารถส่ง Command ไปอย่างรวดเร็วแล้ว "ดูว่ามีอะไรบ้าง" ใน Local Network ของคุณ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก

หากคุณกำลังพยายามทำความเข้าใจแนวคิดหลักของ IPv6 อยู่ อยากให้ลองอ่านบทความที่น่าสนใจนี้ซึ่งกล่าวถึงทั้ง IPv6 และ IPv4 ซึ่งเป็นของ Joe Cardillo ได้จากที่นี่

3. แสดงรายละเอียดของ Directory List

นี่เป็น Alias ทั่วไปสำหรับการแสดง List ของ Content ใน Directory แต่ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นของการแสดง Hidden Files, ใน List Form, พร้อมรายละเอียดเพิ่มเติม และในรูปแบบที่มนุษย์สามารถอ่านได้ง่าย ดังนั้น แทนที่จะเป็น Output ธรรมดาและไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไหร่ ดังตัวอย่างนี้

คุณจะได้ Output ที่มีรายละเอียดมากขึ้น ดังนี้

คุณจะรู้ได้ทันทีว่า Item ใดเป็น Directory, User/Group Permissions, ขนาดของพวกมัน และพวกมันถูก Created/Modified เมื่อใดบ้าง คุณสามารถใช้สิ่งนี้เพื่อดูว่า Data ถูก Write ไปยัง Files เมื่อใด หรือตรวจสอบว่ามีใครที่สามารถเข้าถึง Directory ไหนได้บ้าง

4. ขนาดของ Directory ปัจจุบัน

นี่เป็นคำสั่งที่ไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนอะไร ในการแสดง List ของขนาดของแต่ละ Item ใน Directory ปัจจุบันที่คุณกำลังทำงานอยู่ สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งหากคุณพยายามตรวจดู File หรือ Directory ที่มีขนาดใหญ่เพื่อที่จะได้ Cleanup

Output จะมีลักษณะดังนี้:

5. การหา Nested Files

คุณเคยลืม Directory ที่มี File นั้น ๆ อยู่หรือไม่ หากเคย คุณสามารถใช้คำสั่ง find เพื่อแก้ปัญหานี้ได้ หากคุณแทนที่ <filename> ด้วยชื่อของ File ที่คุณกำลังค้นหา จากนั้นคำสั่ง find จะทำการค้นหาใน Directory ทั้งหมด (เริ่มต้นด้วย Directory ที่คุณอยู่) เพื่อค้นหา File ที่คุณต้องการ

เมื่อพบ File แล้ว คุณจะได้ Output แบบนี้ ซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นว่า File อยู่ที่ไหน เพื่อที่คุณจะได้หามันเจอ:

มีหลายวิธีในการค้นหา Files ซึ่งคุณสามารถติดตั้ง Utility เฉพาะงานอื่น ๆ ที่มี Features ที่น่าสนใจก็ได้ แต่คำสั่ง find นั้นมีอยู่ในหลาย ๆ Distributions และสามารถใช้งานได้อย่างไม่ยุ่งยาก

6. Watch

หากคุณไม่เคยได้ใช้คำสั่ง watch ถือว่าน่าเสียดายมาก ซึ่งแนวคิดมันง่ายมาก คือ คุณส่งผ่าน สิ่งที่ต้องการจะทำ และ จะทำมันบ่อยแค่ไหน และ ให้มันทำ ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน:

สิ่งนี้บอกคำสั่ง watch ว่าเราต้องการทำคำสั่ง cat ทุก ๆ 1 วินาที เมื่อคุณ Run คำสั่งนี้ ที่ Screen จะถูก Rewrite เพื่อแสดง Content ของ File เช่น กรณีที่คุณใช้ less เพื่อแสดงมัน ที่ตรงมุมของ Screen จะมีตัว Timer แสดงให้คุณเห็นทุกครั้งที่ Content ปรากฏขึ้นอีกครั้ง

สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง กรณีที่คุณต้องการ Monitor บาง Files และต้องการดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คุณสามารถใช้ tail -f แต่การใช้ watch นั้น Clean กว่ามากเพราะ Screen จะถูก Rewrite ทุกครั้งและ watch จะจัดการช่วงเวลาการวนรอบได้อย่างง่ายดายสำหรับคุณ

โดยทั่วไปแล้ว คำสั่งนี้ไม่สามารถใช้ได้ในทุก Distribution แต่มันถูกติดตั้งได้ง่ายด้วย apt-get, yum หรือ brew เพื่อเริ่มต้นใช้งานมัน

หวังว่าคุณจะสนุกกับ List ของ Terminal Commands ที่สนุกและมีประโยชน์เหล่านี้ บางทีคุณอาจนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ใน Workflow ของคุณเองเพื่อจะได้ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:  https://medium.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด