6 Linux Utilities ที่คุณอาจไม่ค่อยได้ใช้ แต่มีประโยชน์มาก

25-มี.ค.-22

คัมภีร์เทพ IT

หากพิจารณากันลึก ๆ แล้ว Linux มี Built-in Programs อยู่หลายตัวที่เป็นไปตามกฏที่เรียกว่า Single-Responsibility Principle นั่นคือ พวกมันจะทำเพียงหน้าที่เดียว และแน่นอนว่ามันทำหน้าที่นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะเป็น Program เล็ก ๆ ก็ตาม และบทความนี้จะมาแนะนำ 6 Linux Utilities ที่คุณอาจไม่ค่อยได้ใช้ แต่มีประโยชน์มาก เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1. sum

คำสั่งนี้มีการยอมรับเพียง 4 Parameters ซึ่งหนึ่งใน Parameters ก็คือ --help Flag โดย sum Utility จะสร้างChecksum และ Block Count สำหรับ Input File ที่ต้องการ

ลองมาสร้าง Text File อย่างง่าย ที่มี Content ดังต่อไปนี้:

และเมื่อ Run ผ่าน sum Utility:

ทางด้านซ้ายมือคือ Checksum สำหรับ File และทางด้านขวามือก็คือ จำนวน Block ที่อยู่ใน Filesystem ซึ่งมันเรียบง่ายอย่างมาก

สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการตรวจสอบความแตกต่างอย่างรวดเร็วระหว่าง Files ต่าง ๆ หรือเพื่อตรวจสอบดูว่า File มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการ Checksum ครั้งล่าสุดหรือไม่

คุณสามารถใช้ cksum Utility เพื่อดำเนินการ Checksum และนับจำนวน Bytes แทน Blocks

2. mktemp

Utility นี้ จะช่วยให้คุณสร้าง Temporary Files ได้ บางครั้งคุณจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลเล็กน้อยใน File ไว้จนกว่า Process จะเสร็จสิ้น คุณสามารถใช้ mktemp Utility เพื่อทำสิ่งนี้ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

แทนที่จะตั้งค่าการสร้าง File ใน /tmp Directory ด้วยตนเอง เพียงแค่คุณใช้ mktemp ก็จะสามารถทำทุกอย่างให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคำสั่งง่าย ๆ เพียงแค่คำสั่งเดียว ซึ่งเป็นการช่วยคุณในการไม่ต้องมาตรวจสอบว่า มี File อยู่แล้วหรือไม่ หรือมีการเลือก Filename ที่ซ้ำกันหรือไม่

เพียงแค่ Run mktemp ก็จะมีการสร้าง Name และ Path ของ Temp File ใหม่ของคุณ:

เมื่อคุณต้องการจัดเก็บ Data บางอย่างใน Temp File คุณไม่จำเป็นต้องทำเองหมดทุกอย่าง เพียงแค่ให้ Linux ช่วยทำสิ่งนั้นแทนคุณ

3. namei

การเจาะจงหา Path บน Linux นั้นค่อนข้างมีความซับซ้อนสักหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังติดตาม Directories หรือ symbolic links (symlink) เป็นต้น ซึ่งบางครั้งคุณก็ต้องทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแต่ละ Elements ใน Path เช่น มันเป็น Files ประเภทใด ใครเป็นเจ้าของ รวมทั้งอื่น ๆ แต่โชคดีที่มี Linux Utility อย่าง namei Utility ซึ่งจะช่วยแสดงลำดับชั้นของ Path ไปจนถึงสิ่งที่เราต้องการ

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรามี Directory ที่มี Test File อยู่ภายใน:

เราจะสร้าง symlink ไปยัง Directory ที่มีชื่อ symlink_dir จากนั้นใช้ namei เพื่อกำหนด Path ไปยัง Test File ผ่าน symlink:

อย่างที่คุณเห็น namei จะแสดงให้เราเห็น Full Path ที่เราไปถึงใน test_file ที่อยู่ภายใน real_dir ซึ่งรวมถึงการสำรวจผ่าน symlink_dir และชี้กลับไปที่ real_dir

แทนที่จะใช้บางคำสั่งอย่าง ls เพื่อเจาะลึกเข้าไปในแต่ละ Directory หรือ symlink ที่เป็นไปได้ใน Path ของคุณ คุณสามารถใช้ namei เพื่อที่จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนทันที

4. sg

ไม่ว่าคุณจะรู้จักคำสั่งนี้อยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ประโยชน์อันน่าทึ่งของคำสั่งนี้ก็มีอยู่มากมาย โดย sg Utility จะช่วยให้คุณสามารถ Switch Groups และ Execute คำสั่งเป็น Group ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการ Execute บางอย่างในฐานะ admin Group แต่ User ของคุณไม่ได้เป็นสมาชิกของ Group นั้น ในการทำเช่นนี้คุณสามารถใช้:

สิ่งนี้จะทำการ Execute คำสั่ง ls -lah ในฐานะ admin Group จากนั้นจะนำคุณย้อนกลับไปสู่การเป็นสมาชิก Group ตามเดิมของคุณทันที

คำสั่ง sg นั้นยอดเยี่ยมสำหรับทำสิ่งต่าง ๆ เช่น การทดสอบ Group Permissions โดยรวม หรือการ Run Script ที่มี Privileges ต่างกัน

5. last

ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งบน Linux Machine ทุกเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอยู่ใน Cloud หากคุณคิดว่าอาจมีใครบางคนที่ Log in เข้าไปใน Host และทำอะไรบางอย่างที่เป็นอันตรายหรือแม้แต่เกิดคำสั่งที่ผิดพลาด คุณสามารถใช้ last Utility เป็นตัวช่วยได้

เมื่อใช้ last แล้ว คุณจะเห็น Login Activity ของ Users และข้อมูลสำคัญทั้งหมด เช่น Remote IP, Login Time และ Current Status

นอกจากนี้ last จะแสดงระยะเวลาของแต่ละ Session หากมี Session ที่มีระยะเวลาสั้นมาก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก นั่นอาจหมายความว่า มีบาง Script หรือ Automated System ที่ Log in เข้าและ Log out ออกจาก System ของคุณ ซึ่งสิ่งนี้อาจช่วยให้คุณสามารถติดตาม Activities ที่น่าสงสัยหรือไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นใน System ของคุณได้

6. tac

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักคำสั่ง cat แล้ว มันเป็นหนึ่งในคำสั่งแรก ๆ นอกเหนือจาก ls ที่คุณอาจใช้งานบน Linux แต่คุณรู้หรือไม่ว่า คำสั่งที่เปรียบเหมือนเป็นฝาแฝดของคำสั่ง cat คืออะไร

นั่นก็คือ คำสั่ง tac (ซึ่งเป็นการสะกดคำสั่ง "cat" แบบย้อนกลับ) นั้นแทบจะเหมือนกับคำสั่ง cat ซึ่งมันยังคงแสดง Content ของ File เพียงแต่มันจะแสดงแบบย้อนกลับ

ตัวอย่างเช่น สมมติว่า เรามี File ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้:

ถ้า เราใช้คำสั่ง cat กับ File นี้ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นปกติ แต่ถ้าเราใช้คำสั่ง tac กับ File ก็จะได้ผลลัพธ์แบบนี้:

แน่นอนว่า มันดูเหมือนไม่ได้มีประโยชน์อะไรสักเท่าไรในตอนแรก แต่ลองนึกภาพดูว่า หากคุณมี Log File ที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ และต้องการแสดง Content โดยเริ่มจากรายการล่าสุด การใช้ tac จะช่วยให้คุณสามารถป้อน Output ของ Log File ดังกล่าวลงใน Console หรือ Application อื่น ๆ สำหรับการประมวลผลได้อย่างง่ายดาย

ที่มา:  https://betterprogramming.pub/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด