19 Coding Standards ที่ช่วยให้ JavaScript Code ของคุณ Clean มากขึ้น

09-ก.ย.-20

คัมภีร์เทพ IT

Developer ที่เขียน Code ทุกคนล้วนอยากให้ Code ของพวกเขา Clean โดยในบทความนี้จะมาบอกถึง 19 Coding Standards ที่ช่วยให้ JavaScript Code ของคุณ Clean มากขึ้น

สำหรับ Coding Standards ที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ จะช่วยทำให้ Code ของคุณ:

  • มีความสอดคล้องกัน
  • ง่ายในการอ่านและทำความเข้าใจ
  • ง่ายในการ Maintain

1. เมื่อมีการเปรียบเทียบ ให้ใช้ === แทนการใช้ ==

สิ่งนี้มีความสำคัญ เนื่องจาก JavaScript เป็น Dynamic Language ดังนั้น การใช้ == อาจจะได้ผลลัพธ์ที่คุณไม่คาดคิดก็ได้

ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

2. ให้ใช้ let แทนการใช้ var

มันเป็นวิธีที่เรียบง่าย คือ การใช้ let จะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับ Scope ของ var ใน JavaScript

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

3. ให้ใช้ const แทนการใช้ let

ในบางกรณี การใช้ const จะช่วยหยุด Developer ที่พยายามเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่ควรจะเปลี่ยน และช่วยให้การอ่านทำความเข้าใจทำได้ง่ายขึ้น

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

4. ใช้ Semicolons (;) อยู่เสมอ

แม้ว่า JavaScript จะไม่ได้บังคับให้ใส่ Semicolon (;) เมื่อสิ้นสุด Statement เหมือนอย่างภาษาอื่น ๆ แต่การใช้ ; จะช่วยให้ Code มีความสอดคล้องกัน และมีประโยชน์ในเรื่องการเป็นตัวคั่นแต่ละ Statement

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

5. มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Conventions) ใน JavaScript

let : ควรเป็นรูปแบบ camelCase

const : ถ้าอยู่ที่ส่วนบนของ File ให้ใช้ Upper Case Snake Case อย่างเช่น MY_CONST แต่หากถ้าไม่อยู่ที่ส่วนบนของ File ให้ใช้ camelCase

class : ควรใช้เป็น PascalCasing อย่างเช่น MyClass

function : ควรใช้เป็น camelCase อย่างเช่น myFunction

6. ใช้ Template Literals เมื่อต้องการนำ Strings มาต่อกัน

Template Literals เป็น String Literals ที่อนุญาตให้ใช้ Embedded Expressions ได้

ใน IE11 หรือ Version ที่ต่ำกว่า จะไม่รองรับ String Literals

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

7.หากเป็นไปได้ ให้ใช้ ES6 Arrow Functions

Arrow Functions เป็น Syntax ที่ช่วยเพิ่มความกระชับในการเขียน Function Expression พวกมันไม่มีลักษณะเฉพาะและเปลี่ยนวิธีการใช้ this ใน Function

ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

8. ใช้วงเล็บปีกกาครอบ Control Structures เสมอ

เราจำเป็นต้องใช้วงเล็บสำหรับ Control Structures ทั้งหมด (เช่น if, else, for, do, while และอื่น ๆ)

คุณอาจรู้สึกว่ามันไม่ได้จำเป็นมากในกรณีที่เราใช้ if statement ในบรรทัดเดียว แต่บ่อยครั้ง สิ่งนี้ก็เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดพลาดเมื่อเราไม่ใช้วงเล็บปีกกา ซึ่งอาจทำให้ Developers เผลอเพิ่ม statement อื่น ๆ เข้าไปภายใต้ conditional statement ที่อยู่โดยรอบ

​ตัวอย่าง

 

นี่คือสิ่งที่ควรจะเป็น:

ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

 

9. ตรวจสอบใน JavaScript ให้แน่ใจว่า ให้วงเล็บปีกกาเปิด อยู่ในบรรทัดเดียวกันกับ statement โดยมีช่องว่างคั่นกลาง

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

10. พยายามลดการใช้รูปแบบ Nesting (การซ้อนกัน)

หากคุณใช้ if ซ้อนภายใน if อาจทำให้เกิดความยุ่งเหยิงและทำให้อ่านยากมากขึ้น บางครั้งคุณอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่คุณควรดู Structure ของ JavaScript อยู่เสมอ ว่า คุณจะสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้หรือไม่

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

 

คุณสามารถเห็นได้จากตัวอย่างด้านบนนี้ว่า มันอ่านได้ง่ายกว่า ถ้าเป็นไปได้ เชื่อว่าคงมีหลายคนที่พยายามหลีกเลี่ยงไปใช้อย่างอื่น เคล็ดลับอีกข้อหนึ่งก็คือให้ลองตรวจสอบดูก่อน เหมือนอย่างด้านล่างนี้:

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

11. ลองสร้างความยาวบรรทัด "สูงสุด" สำหรับ File และ Function ต่างๆ

นี่อาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแต่ละ Application ก็มีความแตกต่างกัน สิ่งสำคัญก็คือต้องมีคำแนะนำ เมื่อคุณคิดว่าบางส่วนของ Code มีขนาดที่ใหญ่มากเกินไป การทำแบบนี้อาจต้องใช้เวลาทดลองเล็กน้อยเพื่อหาความยาวที่เหมาะสมสำหรับคุณ

ตัวอย่าง:

File: ประกอบไปด้วย Code จำนวน 80 บรรทัด

Function: ประกอบไปด้วย Code จำนวน 15 บรรทัด

12. ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็กกับชื่อ File

เช่น จาก MyFile.js ควรเป็น myFile.js

13. ใช้ Default Parameters หากเป็นไปได้

ใน JavaScript หากคุณไม่ส่งค่าไปยัง Parameter เมื่อเรียกใช้ Function มันจะเป็น undefined

ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

14. ควรใช้ break และมี default ใน Switch Statements

หากคุณจำเป็นต้องใช้ Switch Statements ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณมี break แต่ละ condition และใช้ default ด้วย

ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

15. ใช้ named Exports

อย่าใช้ default exports การ Import Modules ต้องตั้งชื่อให้กับค่าเหล่านั้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สอดคล้องกันในการตั้งชื่อ ระหว่าง Modules

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

16. ไม่ควรใช้ Wildcard Imports

สิ่งนี้จะช่วยทำให้แน่ใจว่า คุณมี default export เพียงรายการเดียว

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

17. ใช้ Shortcuts สำหรับ Booleans

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

18. หลีกเลี่ยงการใช้ Ternary Statements ที่ไม่จำเป็น

ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

19. ใช้เพียง 1 ตัวแปร ต่อการประกาศตัวแปรแต่ละครั้ง

สิ่งนี้อาจทำให้คุณรู้สึกไม่เห็นด้วยอีกครั้ง แต่การประกาศตัวแปรมากกว่า 1 ตัว อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ในบางกรณี

​ไม่แนะนำ:

แนะนำ:

 

สรุป

Coding Standards ในแต่ละภาษา สามารถช่วยในเรื่องความสามารถในการอ่าน/ทำความเข้าใจและการ Maintain Application สิ่งหนึ่งที่อาจยุ่งยากหากคุณทำงานเป็นทีมก็คือ การพยายามทำให้ทุกคนทำตาม Coding Standards ที่ตั้งไว้ แนวคิดบางอย่างที่อาจช่วยได้มีดังนี้:

  • การ Review Code โดยดู Code ไปทีละบรรทัด
  • ใช้การ Linting หรือ Code Analyzers
  • การสร้าง Application ที่สอดคล้องกัน เพื่อที่ Developer ทุกคนจะได้ทราบว่า ต้องสร้างหรือ Update อะไรบ้าง
  • เมื่อคุณสร้างอะไรใหม่ขึ้นมา ก็ควรให้ Senior Developer สักคนมาช่วยมาดู เนื่องจาก Developer คนอื่นจะสามารถใช้ Code นั้นเป็นแนวทางได้

ที่มา:  https://medium.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด