แนะนำ 10 เครื่องมือ ที่ Java Developer มักใช้งานบ่อย

13-มี.ค.-19

คัมภีร์เทพ IT

ในการทำงานด้าน Programming การรู้จักเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน จะช่วยให้คุณลดเวลาในการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของคุณได้มากขึ้น สำหรับคนที่ใช้ภาษา Java อยากให้อ่านบทความนี้ เพราะจะมาแนะนำ 10 เครื่องมือ ที่ Java Developer มักใช้งานกันบ่อยๆ เพื่อให้คุณได้รู้จักเครื่องมือเพิ่มขึ้นและสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานในอนาคตได้

1. Eclipse และ NetBeans

IDEs ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งสำหรับ Java Developer เพราะ IDE ไม่เพียงจัดเตรียม Development Environment ให้คุณเท่านั้น แต่ยังช่วย Navigate, Debug และ Document สำหรับ Code ของคุณอีกด้วย 

ดูเหมือน Eclipse จะเป็นที่นิยมสูงสุดใน Industry นี้ เพราะเกือบครึ่งหนึ่งของ Java Developer ใช้งานมัน แต่ก็ขอแนะนำอีกเครื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ Netbeans เพราะสามารถใช้มันในการเขียน Test Programs, Testing และ Debugging สิ่งใหม่ๆ ใน Java Web Development ได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับ Eclipse แล้ว Netbeans ดูจะใช้งานได้ง่ายกว่าสำหรับการพัฒนา Web เพราะมันมี Bundled Tomcat หรือ Application Server อื่นๆ รวมทั้งสามารถสร้าง  Project, Run และ Debug ได้

2. Edit Plus, Notepad++ หรือ Sublime

Edit plus และ Notepad++ ถือเป็น Text Editor ที่น่าสนใจ ซึ่งใช้งานในวัตถุประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดู Portion ของ Log files หรือการสร้าง Documents

สิ่งที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับ Edit Plus คือความรวดเร็ว คล่องตัว และมีการสนับสนุน Regular Expression สำหรับงานที่เกี่ยวกับ Find และ Replace ทั้งหมด ส่วน Notepad ++ ก็ถือเป็นเครื่องมือที่ดีในการเปิดไฟล์ Java ที่ไม่ได้ถุก Config ค่าใน IDE มันรองรับในเรื่องที่เกี่ยวกับ Syntax ซึ่งช่วยทำให้มันอ่านง่ายขึ้น

นอกจากนี้ยังมี Sublime Text Editor อีกตัวหนึ่งซึ่งน่าสนใจและถูกพูดถึงกันมากขึ้น หากคุณไม่อยากซื้อ License ของ Edit plus ก็ลองมาใช้ของฟรี อย่าง SubLime ได้

3. Chrome และ Firefox

Google เป็นเพื่อนของคุณและอาจเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา Software โดยไม่คำนึงว่าคุณกำลังทำงานใน Java, C++ หรือ UNIX, Network หรือ Infra ก็ตาม และเพื่อให้การใช้งาน Google มีประสิทธิภาพ คุณจำเป็นต้องมี Browser ที่รวดเร็วและคล่องตัว

Google Chrome และ Firefox ดูจะเป็น Web Browser ที่เหมาะกับการใช้ทำงานกับ Google และค้นหาสิ่งที่คุณต้องการได้ ซึ่ง Web Browser ทั้งคู่มาพร้อม tool ที่ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบและแก้ไข HTML,CSS และเห็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นใน HTML,CSS ได้ในทันที รวมถึงไฟล์ javascript ที่ถูก Load เป็นต้น

ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์มากสำหรับ Java EE Developer รวมทั้ง Web Developer อื่นๆ ชุดเครื่องมือทั้งหมดนั้นรู้จักกันในชื่อ Chrome Developer Tools

4. Aqua Data Studio

Aqua Data Studio เป็น Java-based Tool โดยคุณสามารถเชื่อมต่อกับ Database โดยใช้ Aqua Data Studio ได้ไม่ว่าจะเป็น Oracle, Sybase หรือ SQL Server Database

ดังนั้น หากคุณไม่ได้ใช้เครื่องมือที่เจาะจง Database อย่าง Oracle Developer Studio หรือ SQL Server Management Studio ก็ลองใช้ AquaStudio ดู มันจะยิ่งมีประโยชน์มากขึ้นถ้าคุณต้องเชื่อมต่อกับ Database ประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากคุณทำงานในบริษัทที่มี Application หนึ่งที่ใช้ Oracle อีก Application หนึ่งใช้ Microsoft SQL Server และบาง Application ก็ใช้ DB2 Database ซึ่งในกรณีแบบนี้ คุณสามารถใช้ AquaStudio เพื่อที่จะสามารถใช้เชื่อมต่อกับ Database ต่างๆ พร้อมกันได้

นอกจาก AquaStudio แล้ว ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือ DB Artisan แต่ทั้ง Aqua Data Studio และ DB Artisan เป็นเครื่องมือที่ต้องจ่ายเงิน คุณต้องมี License ในการใช้งานพวกมัน

5. XMLSpy

XMLSpy เป็นเครื่องมือสำหรับทำงานกับไฟล์ XML แม้มันจะไม่ใช่ของฟรี แต่คุณสามารถใช้มันได้ในบริษัทของคุณหากพวกเขาใช้ XML ด้วย มันช่วยให้คุณสามารถ สำรวจไฟล์ XML, ค้นหา XPATH, Execute XPath และ XSLT Transformation

ข้อดีของมันก็คือ สามารถจัดการไฟล์ XML ที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น ไฟล์ที่มีขนาด 4-5 MB ได้ค่อนข้างดี โดยไม่เกิดปัญหา Windows Environment

หรือคุณสามารถใช้ Notepad++ หรือ Internet Explorer เพื่อเปิดไฟล์ XML ก็ได้ แต่ IE ก็มักมีปัญหาเมื่อเปิดไฟล์ XML ที่มีขนาดใหญ่ IE จึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสักเท่าไรนัก

6. Eclipse Plug-in

คุณสามารถใช้ Plug-in ต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันใน Eclipse เช่น JadEclipse สำหรับ Decompile ไฟล์ Java class, eUML สำหรับการสร้าง UML Diagrams, M2Eclipse สำหรับการสร้างและ Run Maven Based Project ใน Eclipse, SVN และ CVS plugin สำหรับการเชื่อมต่อกับแหล่ง Control Repository จาก Eclipse และ Findbugs plugin สำหรับการวิเคราะห์ Static Code

นอกจากนี้ยังมี Plugin สำหรับ Git ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณสามารถสร้าง Java Project ได้โดยตรงจาก Git Repository ของคุณใน Eclipse

7. Putty และ Putty Connection Manager

หากคุณทำงานใน Linux platform เป็นส่วนใหญ่ และจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ Linux Servers ต่างๆ แล้ว คุณสามารถใช้ Putty Connection Manager ร่วมกับ Putty ได้

Putty เป็น SSH Client ที่อนุญาตให้คุณเชื่อมต่อกับ UNIX Server โดยใช้ Putty Connection manager ซึ่งคุณสามารถ Config ทั้ง Host, Username และ Passwords ล่วงหน้าได้ทั้งหมด ช่วยให้คุณ Access Host ต่างๆ ได้ในคลิกเดียว

หากคุณต้อง Log in เข้าสู่ระบบใน Environment ต่างๆ เช่น Test, Dev, UAT, QA, Production เป็นต้น ก็ขอแนะนำให้คุณใช้ Putty Connection Manager แต่หากคุณไม่มี Putty Connection Manager ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังมีตัวเลือกอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็น mRemote และ Putty Multi-Manager ซึ่งสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน

8. FileZilla

หาก Development Environment ของคุณคือ Windows และ Application ของคุณ Run บน UNIX หรือ Linux คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อการ Transfer File จาก Windows ไปยัง Linux และจาก UNIX ไปยัง Windows

อันที่จริงมีเครื่องมืออีกมากมาย มีหลาย sftp clients ที่อนุญาตให้คุณ Copy ไฟล์จาก Linux ไปยัง Windows ซึ่ง FileZilla เป็นหนึ่งเครื่องมือที่สามารถใช้ในการ Transfer ไฟล์จาก Windows ไปยัง Linux และจาก Linux ไปยัง Windows โดยใช้ SFTP (Secure FTP) นอกจากนี้ยังมี WinSCP ที่คุณสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน

คุณสามารถดาวน์โหลด FileZilla ได้แบบฟรีๆ ซึ่งเป็นหนึ่งใน FTP Clients ที่ยอดเยี่ยม

9. Beyond Compare

Beyond Compare เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สำหรับการเปรียบเทียบ (Comparison Tools) การเปรียบเทียบไฟล์ ถือเป็นหนึ่งในงานของ Developer บางครั้งก็เปรียบเทียบก่อน Check-in หลังจากที่ทำการเปลี่ยนแปลง, บางครั้งก็เปรียบเทียบ Config Filesจาก 2 Servers ที่แตกต่างกัน หรือบางครั้งก็เปรียบเทียบไฟล์จาก 2 Releases ที่แตกต่างกันเพื่อค้นหาสาเหตุของ Bug 

แม้ว่าคุณจะสามารถเปรียบเทียบ Text File ใน Eclipse ได้ แต่ Beyond Compare สามารถช่วยคุณได้ทั้ง Pre-Release และ Post-Release Activity เพื่อ Verify ว่ามีชุดของไฟล์ที่ถูกต้องอยู่ครบถ้วนหรือไม่

Beyond Compare ยังช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบไฟล์ได้โดยตรงจาก UNIX boxes และยังสามารถเปรียบเทียบ Folders หรือ Directories ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้คุณเห็นว่ามีไฟล์ไหนที่ถูกเพิ่มเข้าไปหรือถูกลบออกไปบ้าง

อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้ Beyond Compare คุณจำเป็นต้องจ่ายเงินค่า License แต่หากคุณอยากใช้เครื่องมือแบบฟรีๆ ก็ยังมีอีกหนึ่งตัวเลือกหนึ่ง คือ WinMerge ซึ่งมี Function การใช้งานที่คล้ายคลึงกับ Beyond Compare

10. Cygwin

หากคุณทำงานบนระบบ Linux เป็นส่วนใหญ่ซึ่ง Java Application ของคุณ Run อยุ่บนนั้น แล้ววันหนึ่งคุณจำเป็นต้องหันมาทำงานบน Windows แต่คุณกลับคิดถึงเครื่องมือและคำสั่งต่างๆ อย่าง find, grep, xargs และ vi เป็นต้น ทางออกของคุณคือ ใช้ Cygwin เพราะมันช่วยให้คุณทำงานใน Environment แบบ UNIX ได้ ทั้งที่อยู่บน Windows

ดังนั้น หากคุณชอบ Linux และคิดถึงมันในขณะที่พัฒนา Java Program ใน Windows, Cygwin ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ หรือคุณสามารถตั้งค่า Environment ของคุณบน VirtualBox และทำการติดตั้ง Linux ที่นั่น

หวังว่าเครื่องมือเหล่านี้ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับ คนที่เป็น Java Developer อยู่แล้วแต่อยากรู้จักและเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ เพิ่มเติม และคนที่กำลังศึกษาเรียนรู้ภาษา Java อยู่ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มา:  https://javarevisited.blogspot.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด