10 เคล็ดลับ JavaScript ที่ช่วยให้คุณเป็น Programmer ที่เก่งขึ้น

12-ต.ค.-22

คัมภีร์เทพ IT

คงมี Programmer บางคนที่เคยเขียน JavaScript Code ที่ซับซ้อน อ่านและทำความเข้าใจได้ยาก และเมื่อคุณมีโอกาสได้กลับมาดู Code เหล่านั้นอีกครั้ง คุณอาจสงสัยในความสามารถของตัวเองว่ายังเหมาะที่จะเป็น Programmer อยู่ไหม แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะนี่คือ 10 เคล็ดลับ JavaScript ที่ช่วยให้คุณเป็น Programmer ที่เก่งขึ้น

1. ใช้ Promise เพื่อเลี่ยงการเกิด Callback Hell

Promises มีวิธีที่ดีเยี่ยมในการจัดการ Asynchronous Operations ใน JavaScript นี่เป็นหนึ่งใน Solution เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด "Callback Hell" เราลองมาดู Code Snippet นี้กันดู:

Code ด้านล่างนี้ จะทำสิ่งเหล่านี้:

  • รับ Basic Information ของ User ก่อน
  • รับ Brief Summary ของ Articles ทั้งหมดตาม User Information
  • รับ Article Details ผ่านข้อมูลสั้น ๆ ของ Article

ดูเหมือนเราจะยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก Promise เลย ดังนั้น เราควรจัดการกับมันเสียใหม่ให้เหมือน Code Snippet ด้านล่างนี้:

2. ไม่ได้จัดการกับ Error Message ให้ดี

Programmer บางคนก็มักจะเขียนเฉพาะ Code Logic สำหรับ Requests ที่ทำความสำเร็จ แต่เพิกเฉยต่อ Requests ที่ทำไม่ความสำเร็จ

การทำแบบนี้ อาจเป็นเพราะ เรายังไม่มีประสบการณ์เขียน Code มากนัก และเราควรแสดงข้อความแจ้งเตือนที่ Friendly กับ Users แทนที่จะไม่ทำอะไรเลย

3. ใช้ Parameters หลายตัวเกินไปใน Function

เมื่อ Function มีจำนวน Parameters หลายตัวเกินไป มันจะทำให้อ่านได้ยากขึ้นและยังทำให้เราสงสัยอีกว่า จะสามารถส่งผ่าน Parameters อย่างถูกต้องได้อย่างไร

ตัวอย่าง: ถ้าเราต้องการรับ Basic Information ของ User เช่น ชื่อ เพศ อายุ ฯลฯ

นั่นมันแย่มาก ถ้าเพื่อนร่วมงานของคุณเขียน Code แบบนี้แล้ว คุณอยากจะเตือนเพื่อนของคุณ ไหม?

ในความเป็นจริง เมื่อ Function มี Parameters จำนวนมากเกินไป คุณควรใช้ Objects เพื่อส่งข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้สามารถอ่านได้ง่ายและทำความเข้าใจได้ดีขึ้น

4. Magic Number

คุณเคยเขียน Code แบบด้านล่างนี้บ้างไหม? ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ หากเราจะใช้ตัวเลขเพื่อการตัดสินอย่างมีเหตุผลในหลายกรณี แต่ในกรณีนี้ มันอาจทำให้คุณสับสนว่า 1, 2, 3 หมายถึงอะไร

เรามานิยามตัวเลขเหล่านี้เป็น ค่าที่เฉพาะเจาะจง มากขึ้นกันดีกว่า

5. การใช้ .length เพื่อดูความยาวของ String

โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะใช้ .length กัน และมันสามารถถูกใช้เพื่อดูความยาวของ String ได้อย่างแน่นอน แต่คุณควรระมัดระวังในกรณีที่ต้องป้อนข้อมูลลงใน Form

เวลาที่เราใช้สัญลักษณ์บางอย่าง (ดังที่แสดงด้านล่าง) แล้วค่า nameLen จะเท่ากับ 2 — มันดูไม่แปลกเหรอ?

แน่นอนว่ามันมีเหตุผลสำหรับสิ่งนั้น คุณลองเดาดูสิ ว่าคืออะไร?

6. ไม่เขียน Comment ใน Code

Programmer บางคนอาจเคยบ่นกับคนอื่นว่า “ทำไมคุณไม่เขียน Comment ใน Code ล่ะ” แต่จริง ๆ แล้วเชื่อว่า หลายคนอาจไม่เคยเขียนมันเลยด้วยซ้ำ

คุณรู้หรือไม่ว่า 'dpr' หมายถึงอะไร? คุณอาจไม่เคยคิดว่ามันหมายถึง window devicePixelRatio

7. เขียน Comment ที่ไม่สื่อความหมาย

หากคุณคิดว่า การไม่เขียน Comment ลงใน Code เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่การเขียน Comment ลงใน Code โดยที่ไม่มีใครเข้าใจ กลับแย่ยิ่งกว่าเดิม เพราะมันจะทำให้คุณเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

คุณอาจต้องอธิบายความหมายของ "a" ว่าคืออะไร หรือคุณอาจใช้ชื่อตัวแปรที่มีความหมาย (หรือคนอื่นอ่านแล้วเข้าใจ) ได้เช่นกัน

8. ตั้งชื่อตัวแปรที่ไม่สื่อความหมาย

เชื่อว่า คงมี Programmer หลายคนที่เคยเขียน Code Snippet ซึ่งมีการตั้งชื่อตัวแปรแบบสุ่ม ที่ดูแล้วน่าอึดอัดใจ

ขอแนะนำว่าอย่าทำแบบนี้ คุณควรตั้งชื่อตัวแปรให้เหมาะสมและมีความหมาย

9. ไม่ได้ลบ Code ที่ไม่ใช้งานแล้ว

หลายครั้งที่ Website ของเรา มีการปรับปรุง Function ไปเรื่อย ๆ คุณอาจมีทั้ง Function ใหม่และ Function ที่เลิกใช้งานแล้ว แต่คุณอาจกังวลอยู่เสมอว่า คุณอาจจะต้องใช้พวกมันอีกในอนาคต ดังนั้น Programmer บางคนก็เลือกที่จะเขียน Comment ไว้ โดยที่ยังไม่ลบพวกมันออกไป

อันที่จริง ความกังวลแบบนี้ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นไปได้สูงที่คุณจะไม่ได้ใช้งานพวกมันในอนาคต หรือต่อให้คุณจะใช้งานพวกมันในอนาคต แต่คุณก็สามารถย้อนกลับไปดูได้ผ่าน 'git'

10. เขียน Component Code ที่ยาวมาก (นับพัน ๆ บรรทัด)

ถ้าคุณเคยเขียน Code เป็นพัน ๆ บรรทัดใน Component นั่นอาจดูแย่ไปสักหน่อย เราควรแบ่ง Functionality ของ Component ออกเป็น Components ย่อย ๆ แทน จะดีกว่า

ที่มา: https://javascript.plainenglish.io/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด