How to Use NetBeans IDE from the Basics

17-Apr-19

คัมภีร์เทพ IT

See the original english version Click here!

 

บทความนี้จะเป็น Tutorial ที่ช่วยแนะนำตั้งแต่วิธีการ Download, Install และทำความคุ้นเคยกับ NetBeans ซึ่งเป็นหนึ่งใน IDEs ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสำหรับ Java Development ดังนั้น ใครที่กำลังเรียนรู้ NetBeans อยู่ เรามาดูวิธีการใช้ NetBeans IDE ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานกัน

แม้ว่า Release ล่าสุดจะเป็น Apache NetBeans 11 จะออกมาแล้ว แต่ Release เก่ากว่าที่สร้างโดย Oracle คือ NetBeans 8.2 ซึ่งรองรับ Java 8 แต่คุณสามารถใช้ Release ใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะทำงานกับ Java 8, 9 หรือ 10

1. Download และ Install NetBeans 8.2

NetBeans 8.2 จำเป็นต้องใช้ Java 8 หรือ Version ใหม่กว่าก่อนทำการ Install ดังนั้นโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณได้ติดตั้ง Java SE 8 เป็นอย่างน้อยลงใน Computer ของคุณแล้ว โดยให้ไปที่ https://netbeans.org/downloads/8.2/ แล้วคุณจะเห็นหน้าจอนี้:

เลือก IDE Language (NetBeans รองรับการใช้งานได้ 24 ภาษา), Platform (Windows, Linux หรือ Mac) และ Bundle ที่คุณต้องการจะ Download แต่ขอแนะนำให้คุณ Download Bundle Java EE ซึ่งรองรับการพัฒนา Java SE, Java EE และ HTML5/JavaScript Applications ซึ่งก็คือ คลิกปุ่มที่ 2 จากด้านซ้ายนั่นเอง

สำหรับ Windows คุณจะ Download ไฟล์ EXE ( netbeans-8.2-javaee-windows.exe ) ซึ่งเป็นโปรแกรม NetBeans Installer ให้ Run ไฟล์นี้เพื่อ Launch ตัว Installer และทำตามตัว Wizards ไปเรื่อยๆ เมื่อคุณได้รับแจ้งให้ Install GlassFish และ Tomcat ให้เลือกทั้งสองอย่าง ตามที่คุณต้องการจะใช้ในอนาคต:

เมื่อ Install เสร็จแล้ว คุณสามารถเปิด NetBeans IDE จาก Shortcut ใน Programs menu ต่อไปนี้เป็นภาพตัวอย่างหน้าจอ:

2. Download และ Apache NetBeans 9.0

Release แรกๆ ของ NetBeans โดย Apache Software Foundation รองรับเฉพาะ Java SE และ Java EE Development เท่านั้น มันต้องการ Java 8 หรือ Version ใหม่กว่า แต่คุณควรติดตั้ง Java 10 เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากการ Support Java 10 โดย Apache NetBeans 9.0 โดยเข้าไป Download ได้ที่: https://netbeans.apache.org/download/nb90/nb90.html

ทำการ Download ตัว Binaries ( ZIP file: incubating-netbeans-java-9.0-bin.zip ) คุณต้องเลือก Mirror Site ที่ใกล้เคียงกับคุณมากที่สุด และ Extract ไฟล์ที่ Download มาไว้ใน Directory บน Computer ของคุณ

เข้าไปที่ netbeans/bin directory แล้ว Execute ไฟล์ netbeans.exe file (32-bit) หรือ netbeans64.exe (64-bit) เพื่อทำการ Launch ตัว IDE คุณสามารถเห็น Apache NetBeans 9.0 ที่มีหน้าจอใหม่ดังนี้:

ในครั้งแรก คุณจะถูกร้องขอให้ Install ตัว nbjavac Library Plugins:

จากนั้น คลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อและรอสักครู่เพื่อให้ IDE ได้ Load ทุกสิ่งทุกอย่างให้เรียบร้อย จากนั้นคุณจะเห็นหน้าจอ Apache NetBeans 9.0 ดังนี้:

3. ทำความเข้าใจกับ Main Menu ใน NetBeans

คำสั่งทั้งหมดที่คุณสามารถใช้ได้สามารถเข้าถึงได้จาก Main Menu ที่ด้านบนของ IDE Window มี Shortcut Keys ที่อยู่ถัดจากแต่ละ Menu Item เพื่อให้คุณสามารถใช้งานคำสั่งต่างๆ จากปุ่มเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วแทนที่จะใช้ Mouse คลิก

  • File Menu: ช่วยให้คุณทำงานกับ Projects และไฟล์ต่างๆ คุณสามารถทำได้ทั้ง Create, Open, Import, Export และ Close Projects ได้จากที่นี่ นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้ Open, Create และ Save ไฟล์ คุณสามารถเปิดหลายๆ Projects และทำการ Group สิ่งที่เกี่ยวข้องเป็นกลุ่ม เพื่อให้คุณสามารถเปิด Group ได้ในภายหลังแทนที่จะเปิดทุก Projects ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่คล้ายกับ Workspace ใน Eclipse:

นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง Open Recent Project และคำสั่ง Open Recent File ซึ่งมันมีประโยชน์มาก เมื่อคุณต้องการกลับไปใช้สิ่งที่คุณทำก่อนหน้านี้ได้อย่างรวดเร็ว

  • Edit Menu: ช่วยให้คุณทำงานกับ Text ใน Code Editor ที่กำลังใช้งานอยู่ เช่น Copy, Paste, Find, Replace...คำสั่ง Find Usages (Alt + F7) มีประโยชน์สำหรับการค้นหาตำแหน่งของ Class หรือ Method กำลังถูกใช้งานอยู่ใน File, Package, Project หรือ Projects ที่กำลังเปิดอยู่ทั้งหมด:

คำสั่ง Find in Projects และ Replace in Projects เป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มาก เพราะมันช่วยให้คุณ Find และ Replace ทุกอย่างได้ใน Project คุณสามารถใช้ Regular Expression สำหรับ Find และ Replace แบบขั้น Advance ได้ รวมทั้ง NetBeans จะให้คุณสามารถ Review สิงเหล่านั้นก่อนที่จะดำเนินการตามคำสั่ง:

  • View Menu: คุณสามารถ Show/Hide ปุ่มต่างๆ บน Main Toolbar, Editor Toolbar, Line Numbers, Breadcrumb ได้ ในคำสั่ง Full Screen จะทำการซ่อน Title Bar และ Toolbar เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับ Components อื่นๆ และคำสั่ง Show Only Editor มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการดูเฉพาะ Code Editor นอกจากนี้คุณยังสามารถจัดการกับ Code Folding ผ่านคำสั่งภายใต้ menu item Code Folds
  • Navigate Menu: ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ช่วยให้คุณข้ามไปยัง Class, Method, File, Type, Symbol, Line Number เป็นต้น ซึ่งจะช่วยนำทางคุณไปยัง Code และ Items ต่างๆ ใน IDE สำหรับคำสั่งที่น่าใช้คือ คำสั่ง Go to File ซึ่งจะนำคุณข้ามไปยัง Source File:

นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้คำสั่ง go forth and back ระหว่าง Edit Locations, Bookmark Points, Error Marks ล่าสุด รวมทั้งอื่นๆ ด้วย

  • Source Menu: คุณสามารถใช้คำสั่งใน Menu นี้เพื่อจัดการกับ Source Code ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Edit, Format, Complete Code, Fix Imports, Insert Code เช่น Generate Constructor, Setter, Equals, HashCode, Override Methods... ซึ่งเป็นทุกอย่างที่ช่วยให้คุณเขียน Code ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

  • Refactor Menu: คุณสามารถใช้คำสั่งใน Menu นี้เพื่อปรับโครงสร้าง Code โดยที่ไม่ไปเปลี่ยนพฤติกรรมของมัน (Refactoring) เช่น Rename, Move, Copy, Safely Delete, Change Method Parameters, Encapsulate Fields และอื่นๆ อีกมากมาย โดย Refactor Features สามารถช่วยให้คุณประหยัดเวลาและหลีกเลี่ยง Error ต่างๆ ขณะที่ปรับโครงสร้าง Code ของคุณ

  • Run Menu: Menu นี้มีคำสั่งที่ให้คุณ Compile, Run และ Test File หรือ Project คุณสามารถ Build Project เช่นสร้างไฟล์ JAR / WAR สำหรับ Project ของคุณ
  • Debug Menu: ประกอบด้วยคำสั่งที่ช่วยให้คุณ Run Project หรือ File ใน Debugging Mode เพื่อตรวจสอบค่าของตัวแปรใน Memory เพื่อระบุปัญหาและแก้ไข Bugs
  • Profile Menu: คุณสามารถใช้คำสั่งใน Menu นี้เพื่อ Run Project หรือ File ใน Profiling Mode – เพื่อที่จะตรวจสอบ Application ในการค้นหา Memory Leaks และ Optimize Speed
  • Team Menu: คำสั่งใน Menu นี้ช่วยให้คุณทำงานกับ Version Control System อย่าง Git, Mercurial หรือ Subversion (SVN) ไม่ว่าจะเป็นการ Pull Project จาก Version Control Server หรือ Push Project ไปยัง Server
  • Tools Menu: เมื่อใช้คำสั่งผ่าน Menu นี้ คุณสามารถใช้ Tools และ Plugins ต่างๆ ที่ติดตั้งใน IDE รวมถึงสามารถกำหนดค่า Java Platforms, Libraries, Servers, Templates...
  • Window Menu: มีคำสั่งที่ให้คุณสามารถ Show/Hide ตัว Internal Windows ทั้งหมดภายใน IDE ได้
  • Help Menu: ช่วยให้คุณเข้าถึง NetBeans Help System และ Javadocs โดยมันอ้างอิงถึง Online Documentation ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ NetBeans และ Oracle
  • Quick Search bar: โปรดทราบว่ามี Quick Search Bar อยู่ที่มุมขวาบนของ Main Menu มันช่วยให้คุณสามารถค้นหาทุกอย่างภายใน IDE ได้อย่างรวดเร็ว (Shortcut: Ctrl + I)

4. ทำความเข้าใจกับ Key Windows ใน NetBeans

ต่อไป มาทำความเข้าใจกับ Key Visual Components ใน NetBeans ซึ่งเป็นหน้าต่างที่มักใช้งานบ่อยที่สุด

  • Projects window: หน้าต่างนี้จะแสดง Project ที่เปิดอยู่ และช่วยให้คุณสำรวจ Structure ของ Project คุณจะทำงานกับหน้าต่างนี้ใน NetBeans ได้เสมอ สำหรับ Shortcut เพื่อเปิดใช้งานหน้าต่างนี้ คือ Ctrl + 1

  • Code Editorwindow: นอกจาก Text Area สำหรับการ Edit Code แล้ว Code Editor ใน NetBeans ยังมี Toolbar ที่ตรงด้านบนและ Breadcrumb ที่ตรงด้านล่างด้วย ที่ Toolbar ประกอบด้วย ปุ่มที่ช่วยให้คุณสามารถเลื่อนดู Code ได้อย่างรวดเร็ว ส่วน Breadcrumb จะบอกคุณว่า ตอนนี้ Edit Cursor อยู่ตรงไหน ใน structured path: package > class > method > code block…

นอกจากนี้ ที่ Vertical Bar ตรงด้านซ้าย จะแสดงหมายเลขบรรทัด (Line Numbers) และคำอธิบายประกอบ(Annotations) เช่น Errors, Warnings, Suggestions และอื่นๆ

หากสังเกตดูจะเห็นว่า ยังมีปุ่มเล็กๆ (เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีกากบาท) อยู่ที่มุมขวาบนของ Editor ซึ่งมันช่วยให้คุณสามารถแยก Editor Window ออกเป็นแนวนอนหรือแนวตั้งได้ คุณลักษณะนี้มีประโยชน์ในกรณีที่คุณต้องการให้มีมุมมองที่แตกต่างกัน 2 แบบในไฟล์ Code เดียวกัน – เพื่อเปรียบเทียบ 2 Code Sections ที่ต่างกันของ Source File เดียวกัน

สำหรับ Shortcut Key เพื่อเปิดใช้งานหน้าต่างนี้ คือ Ctrl + 0 และหากต้องการสลับไป-มา ระหว่าง Code Editors ก็ให้ใช้ Ctrl + Tab

  • Navigatorwindow: หน้าต่างนี้เป็นส่วนที่เสริม Code Editor Window ขึ้นมา โดยการแสดง Structure ของ Code ในรูปแบบของ Hierarchical Tree ตัวอย่างเช่น หาก Editor ปัจจุบันใช้สำหรับ Java Code, Navigator Window จะแสดงรายการของ Classes และ Members ทั้งหมด (Fields และ Methods) ของ Source File ดังนั้น คุณสามารถใช้หน้าต่างนี้เพื่อนำทางไปยัง Member ใน Class ได้อย่างรวดเร็ว สิ่งนี้คล้ายกับ Outline View ใน Eclipse โดยคุณสามารถใช้ Ctrl + 7 เพื่อ Focus ไปที่หน้าต่างนี้

  • Output window: จะ แสดง Output ที่ถูก Print ออกมาเมื่อทำการ Run File หรือ Project โดยอาจมี Instance ที่แยกออกต่างหาก ของหน้าต่างนี้สำหรับแต่ละ File เนื่องจาก NetBeans ใช้ Ant build ตามค่า Default ดังนั้น Title ของ Output Window จะมี Ant task ต่อจาก File Name ด้วย เช่น run-single ในรีลีสล่าสุดคุณสามารถ Collapse/Expand ตัว Text ใน Output Window ได้:

เพื่อเปิดใช้งานหน้าต่างนี้ คุณสามารถกด Ctrl + 4 ได้เลย

  • Files window: จะทำการแสดง File System ของ Project ที่ถูกเปิดอยู่ โปรดทราบว่า Projects Window จะไม่แสดง File ทั้งหมด ดังนั้น หากมีบาง File ที่ไม่แสดงใน Projects Window คุณสามารถค้นหา File เหล่านั้นได้ใน Files Window ตัวอย่างเช่น คุณต้องใช้หน้าต่างนี้เพื่อเปิด Ant build file:

คุณสามารถใช้ Shortcut เพื่อเปิดใช้งานหน้าต่างนี้ โดยพิมพ์ Ctrl + 2

  • Services window: ช่วยให้คุณจัดการกับ Running Instance ของ Database Servers, Web Servers (GlassFish, Tomcat), Maven Repositories, Test Server ฯลฯ

  • Palette window: หน้าต่างนี้แสดง User Interface Controls ที่ใช้สำหรับการออกแบบ Swing Applications คุณสามารถ “Drag and Drop” จาก Palette ไปยัง GUI Builder Area ได้เลย

หน้าต่างนี้จะถูกเปิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อคุณสร้าง JFrame, JDialog หรือ JPanel

  • Properties window: หน้าต่างนี้แสดง Properties Editor สำหรับตัว Control ที่ถูกเลือกอยู่ ใน GUI Builder Area:

การใช้ Shortcut Keys ใน NetBeans:

คุณสามารถดู List ของ Shortcut Keys ทั้งหมดได้โดย คลิกที่ Menu Help > Keyboard Shortcuts Card

หากคุณต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่  NetBeans Docs & Support

ที่มา:  https://www.codejava.net/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด