Here Are 11 Console Commands Every Developer Should Know

04-Dec-19

คัมภีร์เทพ IT

See the original english version Click here!

 

Command Line เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของ Developer ง่ายขึ้นเนื่องจากมันสามารถทำงานแบบอัตโนมัติและทำให้สิ่งต่าง ๆ Run ได้ราบรื่นขึ้น วันนี้เรามาดู 11 Console Commands ที่ Developer ทุกคนควรรู้จัก จากบทความนี้กัน

Unix Shell เป็น Command-Line Interpreter หรือ Shell ที่ได้เตรียม Command-Line User Interface สำหรับระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับ Unix ซึ่ง Shell เป็นทั้ง Command Language และ Scripting Language และถูกใช้โดยระบบปฏิบัติการเพื่อควบคุมการทำงานของระบบโดยใช้ Shell Scripts

ระบบปฏิบัติการ Linux หรือ Mac ทุกเครื่องจะมี Command-Line ที่ถูกติดตั้งมาให้แล้ว โดยปกติจะอยู่ภายใต้ชื่อ “Terminal” ซึ่ง Command-Line (CLI) ช่วยให้เราสามารถ Move และ Rename ชื่อ File, Sort Data และ Navigate Computer ได้อย่างง่ายดาย

ในฐานะของ Developer นี่คือ 11 Console Commands ที่คุณควรรู้จัก

1. grep

คำสั่ง grep ใช้สำหรับการค้นหารูปแบบคำใน File ไปทีละบรรทัด และจะ Print แต่ละบรรทัดที่ตรงกับคำที่เราค้นหา

 

คุณสามารถใช้ร่วมกับ “-i” ที่ช่วยให้เราค้นหาคำแบบ Case-Insensitive ใน File ได้ อย่างเช่นคำว่า “REACT”, “REact” และ “react” จะถูกมองว่า พวกมันเหมือนกันทั้งหมด

เราสามารถหาจำนวนของบรรทัด ที่มีคำที่เราค้นหาด้วยการใช้ “-c”

นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง grep ที่ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังรูปด้านล่างนี้ 

Source: Wizard Zines

นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง egrep และ fgrep ซึ่งมีความหมายเดียวกับ grep -E และ grep -F ตามลำดับ 

คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ grep ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ที่นี่

2. ls

คำสั่ง ls จะแสดง List ของ File และ Directory ใน Path ที่ใช้งานอยู่ หากชื่อ Path เป็น File, ls จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ File ตามแต่ Option ที่ต้องการใช้ หากชื่อ Path เป็น Directory, ls แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ File และ Directory ย่อย

คุณอาจสังเกตเห็นว่า File ที่กำลังแสดงอยู่เป็นสีเทา ในขณะที่ Folder นั้นมีสีฟ้า ซึ่งนี่คือการช่วยให้เราสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง Folder และ File ได้

3. pwd

คำสั่ง pwd เป็น Command-Line ที่มีประโยชน์มากสำหรับการแสดง Directory ที่กำลังทำงานอยู่ โดย Output จะแสดง Full System Path ของ Directory ที่กำลังทำงานอยู่ ไปยัง Standard Output โดยทั่วไปแล้ว คำสั่ง pwd จะไม่สนใจ symlinks แม้ว่า Full Physical Path ของ Directory ปัจจุบัน จะสามารถถูกแสดงร่วมกับ Option ก็ตาม

4. cat

คำสั่ง cat มี 3 หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ Text File:

• แสดงพวกมัน

• รวมสำเนา

• สร้างขึ้นใหม่

การใช้งานโดยทั่วไปของ cat ก็คือ อ่านเนื้อหาของ File และ cat ก็มักจะเป็นโปรแกรมที่สะดวกที่สุดสำหรับวัตถุประสงค์นี้ 

ในตัวอย่างต่อไปนี้ Standard Output ของ cat ถูก Redirect โดยใช้ Output Redirection Operator (ซึ่งใช้เครื่องหมาย “>” ) ไปยัง file2:

5. echo

คำสั่ง echo ใน Linux ถูกใช้เพื่อแสดงบรรทัดข้อความที่ส่งผ่านเป็น Argument ซึ่ง echo เป็นคำสั่ง Built-in ที่ส่วนใหญ่มักถูกใช้ใน Shell Script และ Batch Files เพื่อแสดง Text ออกไปยัง Screen หรือ File

6. touch

คำสั่ง touch ถูกใช้เพื่อสร้าง File ที่ไม่มีเนื้อหาใด ๆ อยู่ภายใน คำสั่ง touch สามารถถูกใช้เมื่อ User ไม่มีข้อมูลที่จะเก็บไว้ในขณะที่สร้าง File

จะสังเกตว่า เราใช้รคำสั่ง touch เพื่อสร้าง File และใช้คำสั่ง cat เพื่อดูรายละเอียดภายใน File เนื่องจาก File index2.js ที่สร้างขึ้นใหม่นั้นว่างเปล่า คำสั่ง cat จึงไม่ Return สิ่งใดออกมา

นี่คือความแตกต่างหลัก ๆ ระหว่าง cat และ touch:

• cat – ใช้เพื่อสร้าง File ที่มีเนื้อหาอยู่ภายใน

• touch - ใช้เพื่อสร้าง File โดยที่ไม่มีเนื้อหาอยู่ภายใน หรือเป็น File ที่ว่างเปล่า 

7. mkdir

คุณคงเดาได้ว่า mkdir ใช้สำหรับการสร้าง Directory ใหม่ที่ว่างเปล่าใน Path ที่กำลังใช้งานอยู่ แทนที่คุณจะต้องคลิกใน Text Editor หรือ GUI ของคุณ คุณสามารถใช้คำสั่งนี้เพื่อสร้าง Folder ใหม่ได้

หมายเหตุ: ลองสังเกตวิธีที่เราสามารถดูรายละเอียดใน Directory ด้วยคำสั่ง ls ในข้อก่อนหน้านี้

7.1 rm

Rm ย่อมาจากคำว่า Remove ซึ่งมันก็ทำในสิ่งที่มันบอกว่าทำ ก็คือ Remove หรือลบ File 

โดยค่า Default คำสั่ง rm จะไม่ลบ Directory คุณจะต้องใช้ -rf เพื่อทำการลบ Directory

หมายเหตุ: นี่เป็นการลบ Directory โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็น Directory ที่มีเนื้อหาอยู่ภายในหรือไม่ก็ตาม

7.2 rmdir

คำสั่ง rmdir จำใช้เพื่อลบ Directory ในกรณีที่ไม่มีเนื้อหาอยู่ใน Directory นั้น

8. tail

คำสั่ง tail เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงข้อมูลบางส่วนภายใน File โดยเริ่มจากส่วนท้ายของ File

คำสั่ง tail มีประโยชน์อย่างมาก เมื่อเราต้องการทำ Crash Reports หรือ History Logs ก่อนหน้า และนี่ก็คือตัวอย่างที่มีประโยชน์ของมันเมื่อทำงานกับ File Logs

9. wget

GNU Wget เป็น Software Package ฟรี ที่ใช้สำหรับการดึง File โดยใช้ HTTP, HTTPS, FTP และ FTPS ซึ่งเป็น Internet Protocols ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย มันเป็น Non-Interactive Command-Line Tool ดังนั้นมันจึงถูกเรียกใช้ได้อย่างง่ายดายจาก Scripts, CRON jobs, Terminals โดยไม่ต้องใช้ X-Windows เพื่อรองรับ เป็นต้น

GNU Wget มี Feature มากมายที่ช่วยให้การดึง File ขนาดใหญ่ หรือทำ Mirroring ทั้ง Web หรือ FTP Sites ทำได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึง:

• สามารถ Resume การ Download ที่ถูกยกเลิกไป โดยใช้ REST และ RANGE

• สามารถใช้ชื่อ File ของ Wild Cards และทำ Mirror Directories แบบวนซ้ำได้

• NLS-based Message Files สำหรับภาษาต่าง ๆ

• ทำงานบนระบบปฏิบัติการที่เหมือนกับ UNIX เช่นเดียวกับ Microsoft Windows

• รองรับ HTTP Proxies

• รองรับ HTTP Cookies

• รองรับ HTTP Connections แบบต่อเนื่อง

• Unattended / Background Operation 

• ใช้ Timestamps ของ File ภายในเครื่อง เพื่อพิจารณาว่า Document นั้นต้อง Re-Download หรือไม่เมื่อทำ Mirroring

• GNU Wget ถูกเผยแพร่ภายใต้ GNU General Public License

โดยคุณสามารถอ่าน official GNU documentation เพิ่มเติมได้ที่นี่

10. find

คำสั่ง find จะช่วยให้คุณสามารถค้นหา File หรือ Directory ได้อย่างรวดเร็ว มันมีประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีที่คุณทำงานกับ Project ขนาดใหญ่ที่มี File และ Directory เป็นจำนวนมาก ๆ นับร้อยนับพัน 

ค้นหา File ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ

คำสั่ง find ยังให้คุณสามารถค้นหา File ประเภทเดียวกันภายใน Directory (และ Directory ย่อย) อย่างเช่นคำสั่งต่อไปนี้ จะใช้ค้นหา .js File ทั้งหมดที่อยู่ใน Directory ปัจจุบันของคุณ

11. mv

คำสั่ง mv ใช้สำหรับย้าย File หรือ Directory จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง คำสั่ง mv รองรับทั้งการย้าย File เดียว รวมทั้งหลาย ๆ File และ Directory อีกด้วย

ที่มา:  https://medium.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด