6 วิชาที่ยากที่สุดใน Computer Science

07-ธ.ค.-18

คัมภีร์เทพ IT

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ คงคิดว่าวิชาต่างๆ ที่ต้องเรียนกันใน Computer Science คงมีแต่วิชาที่ยากๆ ทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Technical ซึ่งมีทั้งวิชาที่ง่ายและยากปนกันไป แต่วันนี้เรามาดูกันว่า 6 วิชาที่ยากที่สุดใน Computer Science มีวิชาใดบ้าง (ซึ่งอาจมีบางวิชาที่ถูกปรับปรุงเพิ่มเติมไปตามเทคโนโลยีและยุคสมัย)

1. Artificial Intelligence 

Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นหนึ่งในรายวิชาที่ยากที่สุดใน Computer Science เน้นการสอนในเรื่องการเขียน Program เพื่อสอนให้ให้ machines มีความฉลาด นี่เป็นเพียง machine ที่ได้รับการวาง Program ให้คิดและทำเหมือนมนุษย์จริงๆ โดย machine อัจฉริยะดังกล่าว ควรมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหา ลักษณะเฉพาะดังกล่าวหมายรวมถึงความสามารถในเรื่อง การเรียนรู้, เหตุผล, การรับรู้ และการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ด้วย

กลับมาประเด็นที่ว่า เหตุใด AI ถึงเป็นหัวข้อที่ยากสำหรับ Computer Science? เหตุผลอย่างแรกคือ ต้องใช้ cross-disciplinary approach โดยคุณต้องรวมความรู้ในสาขาต่างๆ ของ Computer Science เพื่อทำความเข้าใจและ implement  ทฤษฎีของ AI สำหรับสาขาวิชาดังกล่าวประกอบด้วย programming, mathematics, psychology, linguistics และกระทั่ง database management การรวมสาขาความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่ง product นั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ

เหตุผลข้อหนึ่ง ธรรมชาติของการพัฒนาเทคโนโลยี AI เนื่องจาก AI เป็นฟิลด์ที่ไม่อยู่กับที่ มันจะเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตามกาลเวลา แนวความคิดที่ใช้งานได้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาจไม่สามารถใช้งานได้ปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าผู้ที่เรียน AI จะต้องได้ติดตามและทราบถึง concept ใหม่ๆ อยู่เสมอ
นอกจากนี้พอจะกล่าวได้ว่า AI เป็นอีกหนึ่งในสาขาที่ได้ผลตอบแทนสูงที่สุดใน Computer Science จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใด คนที่เชี่ยวชาญด้าน AI ถึงเป็นที่ต้องการสูงมาก

2. Theory of Computation 

หากคุณศึกษาด้าน Computer Science คุณไม่จำเป็นต้องใช้ computer ในการแก้ปัญหาเท่านั้น แต่คุณจำเป็นต้องมีความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการที่ computer สามารถใช้วิธีแก้ปัญหานั้นๆ ได้ ซึ่ง Theory of Computation หรือ ทฤษฎีการคำนวณ เป็นหัวข้อใน Computer Science ที่อธิบายว่า ปัญหาสามารถแก้ไขได้โดยใช้ algorithm และ model ของการคำนวณที่เฉพาะเจาะจงได้

โดยทั่วไป Theory of Computation จะแบ่งออกเป็น 3 สาขาที่แตกต่างกัน ซึ่งปะกอบด้วย computability theory, automata theory และ complexity theory สาขาทั้งหมดเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีความรู้เกี่ยวกับวิธีสำรวจข้อจำกัด(limitations) และความสามารถ(capabilities) ของ computer

สำหรับ Theory of Computation จะครอบคลุมไปถึง สิ่งที่เป็นนามธรรมทางคณิตศาสตร์ของ computer ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเรื่อง model of computation ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้รู้ครอบคลุมถึง model ต่างๆ รวมถึง Turing machine อีกด้วย

นอกจากการวิเคราะห์ว่าปัญหาสามารถแก้ไขได้อย่างไรแล้ว Theory of Computation ยังได้สอนผู้ที่เรียนถึงการวิเคราะห์ว่า methods และ algorithms ที่ใช้นั้น จะช่วยแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ นั่นหมายถึงว่า นักวิทยาศาสตร์ computer จะต้องมองไปที่ด้านอื่นๆ รวมไปถึง memory space ที่จำเป็นและเวลาที่จะต้องดำเนินการเพื่อหาแนวทางแก้ไขอีกด้วย

3. Microprocessors 

อีกหัวข้อของ Computer Science ที่ถือว่ายาก ก็คือ microprocessors นั่นเอง microprocessors หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็น logic chips และยังเป็น engines ของ computers สำหรับ microprocessors โดยทั่วไปจะประกอบด้วย central processing unit(CPU) functions ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งที่เกี่ยวกับด้านเลขคณิตและ logic ของเครื่อง computer

มันดูเหมือนจะง่ายใช่ไหม ในฐานะของผู้ที่ศึกษาด้าน Computer Science คุณจะต้องรู้ไกลกว่านั้น ไม่เพียงแค่รู้ว่า microprocessors คืออะไร แต่คุณจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำงานและวิธีการออกแบบมัน เนื่องจาก microprocessors เป็นส่วนสำคัญของ computing system ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาด้าน Computer Science จึงจำเป็นต้องรับรู้ถึงข้อมูลเกี่ยวกับ devices เหล่านี้ด้วย

หัวข้อของ microprocessors ค่อนข้างกว้างและมีความเป็น Technical มาก ดังนั้น อย่างแรกคุณจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ logical operations และ mathematical computations บางทีคุณจำเป็นต้องกลับไปศึกษาบางพื้นฐานที่สำคัญของ electronics ด้วย เนื่องจาก Microprocessors ประกอบไปด้วย electronic นับพันชิ้นส่วน เช่น transistors และ integrated circuits นอกจากนี้คุณยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ Microprocessors ที่แตกต่างกัน รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะของแต่ละแบบด้วย ซึ่งในหัวข้อนี้จะช่วยเตรียมทั้งความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องให้คุณเพื่อใช้มันสำหรับเป็น microprocessor designer ได้

4. Advanced Database Systems 

บางทีคุณอาจจะมีความรู้พื้นฐานของ database มาบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม advanced database systems ถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ค่อนข้างยากใน Computer Science ถึงแม้จะมีเนื้อหาครอบคลุมถึงพื้นฐานของ database system แต่ก็ก็ยังลงลึกไปถึง database concepts ในขั้นสูงและมีความซับซ้อนอีกด้วย

แม้ว่าพื้นฐานของ database systems จะถูกนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจ แต่ advanced database systems สามารถไปได้ไกลว่าแค่การนำไปใช้งานทางธุรกิจทั่วไป มันถูกใช้ในการจัดการข้อมูลใน application ที่ซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ แม้จะครอบคลุม concept ที่ซับซ้อนมากที่สุด แต่หัวข้อนี้ก็ยังคงครอบคลุมและไม่ทิ้งพื้นฐานของ database systems 

 5. Compiler Design 

Compiler design ยังเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ยากที่สุดใน Computer Science ก่อนอื่นต้องรู้ว่า Compiler เป็น program ที่แปลงprogram ที่ถูกเขียนขึ้นด้วย high language ไปเป็น machine language โดยในหัวข้อนี้จะให้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการ translation และ optimization process ทั้งหมดแก่คุณ

ผู้ที่ศึกษาด้าน Computer Science จะได้เรียนรู้กลไกการ translation และ error detection ในระหว่าง compilation process นอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ lexical และ syntax analysis ระหว่างกระบวนการสร้าง code อีกด้วย หัวข้อนี้ถือว่ายากเพราะผู้เรียนควรต้องมีทักษะและเข้าใจถึงการเขียน code ที่ดี อีกทั้งควรต้องเข้าใจภาษา programming ต่างๆ เป็นอย่างดีอีกด้วย

6. Image Processing and Computer Vision 

image processing และ computer vision เป็น 2 หัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ สำหรับ image processing จะช่วยให้ computer มีประสิทธิภาพในการเพิ่มการ transformations ลงในรูปภาพ computer จะช่วยทำให้ภาพมีความน่าสนใจหรือน่าดึงดูดใจยิ่งขึ้น ในอีกแง่หนึ่ง computer vision จะวิเคราะห์รูปภาพและข้อมูลในโลกของความจริงต่างๆ เพื่อสร้าง symbolic information ที่มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น 

ทั้งสองหัวข้อนี้ถือว่าค่อนข้างยาก ผู้ที่ศึกษาควรต้องมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่และทุ่มเท อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับว่า มันมี application มากมายโดยเฉพาะในยุคใหม่นี้ นอกจากนี้มันยังเป็นหัวข้อที่ถูกพัฒนาขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากผู้เรียนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วย

จะเห็นได้ว่าหัวข้อต่างๆ ในข้างต้น ถือเป็นหัวข้อที่ยากที่สุดใน Computer Science สำหรับยุคนี้ ซึ่งอาจมีบางหัวข้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา ตามความเจริญของเทคโนโลยีและอาจแตกต่างจากการเรียน Computer Science ในยุคก่อนๆ ไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตามหากคุณมีความมุ่งมั่น ก็น่าจะเอาชนะได้อย่างแน่นอน และอย่าลืมว่า โลกของเทคโนโลยี “ไม่มีคำว่าหยุดนิ่งอยู่กับที่” ดังนั้นคุณต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงนี้ให้ทันอยู่เสมอ

ที่มา:  https://www.technotification.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง