Toolkit สำหรับ Full-Stack Developer

14-มี.ค.-18

คัมภีร์เทพ IT

จากที่ Full Stack Developer เป็น Developer ที่สามารถทำทั้งส่วนของ Frontend และ Backend ได้ แถมบางคนยังสามารถทำ Functional Application ทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมทักษะเหล่านี้ถึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นในยุคนี้ โดยในบทความนี้ผู้เขียนได้แนะนำ Tools และ Technologies ส่วนหนึ่งที่ Full Stack Developer ควรใช้ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

เทคโนโลยี Frontend

แน่นอนว่าถ้าคุณไม่มีความสามารถด้านการพัฒนา Frontend คุณก็ไม่สามารถเรียกตัวเองได้ว่าเป็น Full Stack Developer อย่างน้อยที่สุดคุณก็ควรจะทำ Functional, Dynamic และ Responsive Website/Web App ได้ ถ้าคุณไม่ค่อยถนัดกับส่วนของ Frontend ก็ลองใช้ HTML, CSS และ JS ดู แต่หากคุณอยากเพิ่มระดับฝีมือขึ้นอีกก็ต้องมีตัวช่วยเพิ่มเติมคือ Framework และ Library สำหรับ CSS Framework ที่คุณสามารถใช้เพื่อสร้าง Responsive Websites คือ

เมื่อคุณเริ่มคล่องกับ JavaScript แล้ว ลองใช้เวลาเรียนรู้ jQuery นอกจากนี้คุณควรทำความคุ้นเคยกับการใช้ AJAX ในการเรียก API ต่อไปคุณควรเลือกเรียนรู้อย่างน้อย หนึ่งใน JavaScript Framework เหล่านี้ให้ลึกซึ้งจริงๆ

เทคโนโลยี Backend

การพัฒนาส่วนของ Backend ก็เป็นอีกส่วนที่ Full Stack Developer จำเป็นต้องทำได้ ถ้าคุณกำลังเริ่มเรียนรู้ ก็ลองอ่านบทความนี้ดู น่าจะทำให้คุณทราบแนวทางที่จะเริ่มต้นได้ คุณอาจกำลังกังวลว่า มี Framework มากมายในการพัฒนา Backend แต่ด้วยพบทความนี้ที่กล่าวถึง JavaScript เป็นหลัก ดังนั้นถึงขอกล่าวถึง Framework สำหรับโลกของ JavaScript ก็คือ NodeJS ซึ่งจากความนิยมอย่างสูงรวมทั้งมีการกล่าวถึงมากมายใน Community/Website ต่างๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมเทคโนโลยี JavaScript ถึงได้สร้าง Ecosystem ที่สมบูรณ์เพื่อรองรับ NodeJS และหากคุณเริ่มคุ้นเคยกับ NodeJS แล้ว อยากให้ลองเรียนรู้ ExpressJS  ซึ่งเป็น Routing และ Middleware Framework ที่สร้างจาก Node ซึ่งหากคุณใช้งานสิ่งเหล่านี้ได้ก็มีทักษะเพียงพอที่จะเป็น Developer ได้ แต่ก็มี Framework และ Technology อื่นๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ใช้งานกับ Node ได้ที่คุณน่าจะลองเรียนรู้เพิ่มเติมด้วย คือ

ตอนนี้เรียกว่าเป็น Full-Stack ได้หรือยัง

เรียกว่าตอนนี้คุณก็มาได้ไกลและสามารถเรียกได้ว่าเป็น Full Stack Developer แล้ว แต่มันก็น่าจะยิ่งทำให้คุณตื่นเต้นมากขึ้นถ้าคุณได้รู้ว่า JavaScript มันทำอะไรได้บ้าง สำหรับผู้ที่เริ่มต้น ลองเรียนรู้ ElectronJS ดูเพราะมันเป็น Framework ที่ใช้สร้าง Desktop Application โดยใช้ JavaScript

เรื่องถัดไปที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ Hybrid และ Cross-Platform Apps

ลองนึกภาพดูว่ามันจะเจ๋งแค่ไหนหากคุณสามารถใช้ทักษะ JavaScript ในการทำทั้ง Websites, Desktop Apps หรือแม้แต่ Apps สำหรับ Smartphone ช่วงแรกที่คุณ Ajmal ได้เรียนรู้ JavaScript Framework ซึ่งสามารถใช้สร้าง Android หรือ iOS App ได้ เขารู้สึกตื่นเต้นกับมันมาก ตอนแรกที่เคยคิดว่าจะยาก แต่ที่จริงมันใช้งานไม่ยากอย่างที่คิดเลย และนี่คือ Technology ที่คุณน่าจะเรียนรู้เพิ่มเติม

ซึ่งสำหรับเขาเอง จากประสบการณ์แล้ว เขาแนะนำให้ใช้ MeteorJS มากที่สุด

แล้วจำเป็นต้องรู้ Framework ทั้งหมดนี้ไหม

คำตอบคือ ได้ทั้ง ใช่ และ ไม่ใช่

สำหรับส่วนที่ใช่ก็เพราะ คุณจะสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ได้มากมาย จากความรู้หลากหลายที่คุณมีนั่นเอง และแน่นอนว่า ณ จุดนี้คุณเป็น Full Stack Developer โดยสมบูรณ์แล้ว และจะว่าไปแล้ว คุณแค่รู้ในสิ่งที่คุณอยากจะทำ มันก็เพียงพอแล้วเช่นกัน แต่ก็มีสิ่งอื่นๆ ที่ช่วยให้ชีวิตของ Developer ทั้งหลายง่ายขึ้น และนี่คือ Tool และ Technology มีประสิทธิภาพและช่วยคุณประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น

Version Control

ถ้าคุณเคยได้ยิน Git และ GitHub แล้วล่ะก็ นี่แหละคือสิ่งที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ และแน่นอนว่าแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คุณควรใช้มันให้เป็น หรือถึงขั้นเชี่ยวชาญ แต่นอกจาก Github แล้วก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกคือ

Package Managers

นี่เป็น Tool ที่มักถูกมองข้ามไป ซึ่งมันติดตั้งได้รวดเร็วและช่วยให้คุณจัดการ Package และ Library ใน Project ของคุณได้สะดวกขึ้น ซึ่งหลายคนคงจะรู้จัก NPM (Node Package Manage) มาบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังมี

  • Yarn เป็น Package Manager ที่ทำงานได้รวดเร็วและมีข้อดีบางอย่างเหนือ NPM
  • Bower เป็น Package Manager สำหรับเว็บไซต์

Tool อื่นๆ

Tool ที่อยากแนะนำอีกเล็กน้อย ซึ่งมีประโยชน์กับ Developer และคุณควรทำความคุ้นเคยกับมันไว้ก็คือ

  • Babel : เป็น "transpiler" สำหรับ JavaScript ที่ช่วยให้คุณสามารถ Compile Code ใน Format ที่เข้ากันได้กับ Browser ที่คุณต้องการ
  • Webpack : เป็น Tool ที่เอาไว้แปลง Module ของ JavaScript ที่ใช้สำหรับ Application ของคุณที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

Deployment Options

ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว คือคุณต้องการให้ Application ของคุณออนไลน์ นี่คือตัวเลือกส่วนหนึ่งของ  Server ที่จะใช้งาน

อันที่จริงมีเครื่องมือต่างๆ มากกว่านี้อีก แต่คุณ Ajmal แนะนำมาให้เพียงบางส่วน(เพื่อจะได้ไม่มากเกินไป) โดยเลือกที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมใช้งานกัน ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเลือกเรียนรู้ Tool หรือ Framework ใดก็แล้วแต่คุณจะสะดวกครับ

ที่มา: https://codeburst.io/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง