10 Shell Commands ที่ Developer ทุกคนต้องรู้จักไว้

30-ก.ย.-20

คัมภีร์เทพ IT

คุณยังต้องพึ่งพา GUI อยู่หรือไม่ คุณจะสามารถเพิ่ม Productivity ในการทำงานได้อย่างมากด้วยการเรียนรู้ Shell Commands พื้นฐาน และนี่ก็คือ 10 Shell Commands ที่ Developer ทุกคนต้องรู้จักไว้

1. pwd – Return ชื่อ Directory ที่กำลังใช้งานอยู่

เริ่มต้นด้วยการรู้ว่า คุณกำลังอยู่ที่ไหนเมื่อคุณเปิด Terminal ของคุณ:

2. ls – แสดงข้อมูลภายใน Directory

ตอนนี้เรามาดูว่า สิ่งที่อยู่ใน Directory ปัจจุบันมีอะไรบ้าง:

คำสั่ง ls มี Options ต่าง ๆ ให้คุณได้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ ซึ่งขอแนะนำตัวอย่างของ Options ทั้ง 3 ที่หลาย ๆ คนมักใช้งานอยู่บ่อย ๆ:

  • -l: แสดงผลลัพธ์แบบ Long Format (ดูตัวอย่างด้านล่าง) ผลรวมของขนาด Files ทั้งหมดจะถูกแสดงในบรรทัดก่อน รายการแบบยาว
  • -h: ใช้กับ -l Option ซึ่งมันจะเปลี่ยนขนาด File ให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านได้ง่ายขึ้นเช่น 10G, 42M
  • -a: ย่อมาจาก 'all' โดยจะเป็นการแสดงรายการทั้งหมด รวมทั้ง Directories ที่ถูกซ่อนอยู่ ซึ่งชื่อของมันจะขึ้นต้นด้วยจุด (.)

คุณสามารถใช้ Options ต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมกันได้ตามต้องการ:

สิ่งที่คุณเห็นคือสิทธิ์ในการเข้าถึง, Owner และ Group, ขนาด File, Data ที่แก้ไขล่าสุด และ ชื่อ File

ใน 2 แถวแรก คุณอาจสังเกตเห็นสิ่งแปลก ๆ นั่นคือ 2 Files ที่มีชื่อว่า . และ .. :

  • . คือ Directory ปัจจุบัน มันยังมีขนาดซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของ Files ใน Directory
  • .. คือ Directory ต้นแบบ ซึ่ง Directory ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมัน

Shortcut ที่มีประโยชน์เหล่านี้ สามารถใช้ได้ในทุกคำสั่ง หากคุณต้องการดูเนื้อหาของ Directory พื้นฐาน ให้ใช้ ls ../  นอกจากนี้คุณยังสามารถทำซ้ำได้ ดังนั้น หากคุณต้องการดูรายละเอียด 2 Directories คุณสามารถใช้ ls ../../

3. cd – เปลี่ยน Directory

ตอนนี้คุณรู้แล้วว่า คุณอยู่ที่ไหนและมี Directory ใดบ้าง คุณต้องการ Navigate มัน สมมติว่า Project ของคุณถูกเก็บไว้ในFolder ที่ชื่อว่า Projects คุณสามารถไปที่นั่นได้โดยการพิมพ์:

Shells ส่วนใหญ่มีการรองรับ Auto-Completion เพียงแค่ลองพิมพ์บางส่วนของมัน:

Shell ของคุณจะทำการ Auto-Completion คำให้ หรือหากมีหลาย ๆ Directories ที่ตรงกับสิ่งที่คุณกำลังพิมพ์ มันจะแสดงตัวเลือกทั้งหมดให้คุณเห็น

4. cp – Copy

คุณอาจต้องการ Copy หรือ Duplicate File บาง File คำสั่ง cp จพช่วยให้คุณสามารถทำอย่างนั้นได้ คือ มันจะ Copy File ให้ สามารถทำได้ด้วยการสร้าง File ใหม่และ Copy เนื้อหาทั้งหมดไปยัง File นั้น สมมติต้องการ Copy file1.txt ไปยัง File ที่สอง ในการ Backup ข้อมูล ให้ใช้:

ในการ Copy File ไปยัง Directory อื่น คุณสามารถใช้:

./ ในที่นี้หมายถึง " Directory ปัจจุบัน" ดังนั้น "การ Backup ข้อมูล" จึงอยู่ใน Directory ที่คุณกำลังทำงานอยู่

5. mv – Move

หากคุณต้องการย้าย File ให้ใช้คำสั่ง mv และโปรดทราบว่า การย้าย File จะเหมือนกับการเปลี่ยนชื่อ File อันที่จริงแล้ว ไม่มีคำสั่งสำหรับการเปลี่ยนชื่อ การใช้ mv ไม่ต่างจาก cp เท่าไหร่นัก คุณสามารถเปลี่ยนชื่อ / ย้าย File ดังนี้:

หากต้องการย้าย File ไปยัง Directory อื่น ทำได้ดังนี้:

6. mkdir – สร้าง Directories

คำสั่งนี้ จะเป็นสร้าง Directory หากคุณต้องการสร้าง Directory เพื่อจัดเก็บ Projects ของคุณ สามารถทำได้ดังนี้:

มี Argument ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสำหรับคำสั่งนี้ ก็คือ -p และเมื่อคุณใช้งานมัน จะมีการสร้าง Intermediate Directories ใด ๆ ที่ยังไม่มีอยู่ด้วย หากคุณต้องการสร้าง Project แรกภายใน “Project” โดยตรง คุณสามารถทำได้ดังนี้:

7. rmdir – ลบ Directories

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ mkdir คือ rmdir ซึ่งมันจะทำการลบ Directory และมันก็ยังอนุญาตให้ใช้ -p argument ได้เช่นกัน

ในการลบ Directory ที่ชื่อ Projects และ Project แรกที่เราเพิ่งสร้างขึ้น สามารถทำได้ดังนี้:

การลบ Directory จะใช้ได้เฉพาะเมื่อเป็น Directory ที่ว่างเปล่า หากคุณต้องการลบ Directory รวมถึง Contents ต่าง ๆ ของพวกมัน โปรดดูคำสั่ง rm ซึ่งอยู่ถัดไป

8. rm

คำสั่งนี้มีประสิทธิภาพอย่างมาก แต่อีกด้าน มันก็มีสิทธ์ที่จะทำลาย File System ของคุณได้เช่นกัน ดังนั้น จงใช้งานมันด้วยความระมัดระวัง

เริ่มต้นด้วยการลบ File:

ตอนนี้ File ได้หายไปแล้ว

ต่อมา เราจะทำการลบ Files ทั้งหมดใน “Projects” Directory ของเราที่ลงท้ายด้วย .txt คุณต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า glob pattern ที่ Match กับหลาย ๆ Files:

หากคุณต้องการลบ Files ทั้งหมด ให้คุณใช้:

โดย glob pattern * หมายถึง Match กับทุกสิ่งทุกอย่าง

หากคุณต้องการให้ปลอดภัยไว้ก่อน ให้ใช้ -i Option ซึ่งจะบังคับให้คุณต้อง “ยืนยัน” ก่อนที่จะทำการลบ

หากเราต้องการลบ Directories และ Files ทั้งโครงสร้าง สำหรับสิ่งนี้ คุณต้องมี Arguments -r ซึ่งย่อมาจาก Recursive นั่นเอง ในบางครั้ง rm -r จะปฏิเสธที่จะลบ Files พิเศษบาง Files หรือต้องให้ยืนยันอยู่ตลอดเวลา คุณสามารถใช้ Option -f เพื่อลบทุกอย่างที่ทำได้ โดยที่ไม่ต้องมีคำถามใด ๆ ตอนนี้เรามาลบ Projects ทั้งหมดของเรากัน:

แน่นอนว่า งานทั้งหมดของคุณจะหายไปตลอดกาล ดังนั้น จงใช้คำสั่งนี้ด้วยความระมัดระวัง

9. cat, less, tail, head – แสดง Contents

คุณมักต้องการตรวจสอบ Contents ของ File อย่างรวดเร็ว มีหลายวิธีในการดำเนินการลักษณะนี้ คุณสามารถเลือกในสิ่งที่ตรงกับการใช้งานของคุณ ซึ่งมีดังนี้:

  • cat - Print ทุกอย่างบนหน้าจอของคุณ
  • less – ช่วยให้คุณเลื่อนดู File และแม้แต่การค้นหาภายในตัวมันเอง
  • tail – เหมือนกับ cat แต่จะ Print เฉพาะ 10 บรรทัดสุดท้าย (โดยค่า Default)
  • head - เหมือนกับ cat แต่จะ Print เฉพาะ 10 บรรทัดแรก (โดยค่า Default)

ทั้ง tail และ head สามารถใช้ -n <num> Option เพื่อเปลี่ยนจำนวนบรรทัดที่ต้องการจะแสดง

10. control+r – ค้นหาคำสั่งก่อนหน้านี้

มันเป็นเรื่องง่ายมากที่เรามักจะลืมอะไรบางอย่าง ดังนั้น การค้นหาคำสั่งที่คุณใช้เมื่อวานหรือสัปดาห์ที่แล้วอย่างรวดเร็ว คงเป็นเรื่องดีและมีประโยชน์กับคุณอย่างมาก เพียงแค่กด control+r บนแป้นพิมพ์ของคุณ แล้วเริ่มพิมพ์ส่วนของคำสั่งที่คุณจำได้ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้

หากสิ่งที่คุณพบ ไม่ใช่สิ่งที่คุณกำลังมองหาทั้งหมด คุณสามารถค้นหาต่อไปด้วยกดปุ่ม control+r ไปเรื่อย ๆ มันจะทำการช่วยจับคู่จากประวัติของคำสั่งที่คุณใช้

ที่มา:  https://medium.com/

 

 

รับตำแหน่งงานไอทีใหม่ๆ ด้วยบริการ IT Job Alert

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

เพิ่มเพื่อน

 

บทความล่าสุด