10 PHP Frameworks ยอดนิยม สำหรับ Developer

09-พ.ย.-17

คัมภีร์เทพ IT


PHP ถือเป็นอีก Programming Language ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และในปัจจุบันก็มี Framework ที่มารองรับเพื่อให้เหล่า Developer ใช้งาน PHP กันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Website หรือ Web App ก็ตาม สำหรับสาเหตุที่ PHP Framework ได้รับความนิยมนำมาใช้มากขึ้น ก็เพราะมีประโยชน์หลายอย่าง ดังต่อไปนี้

·        พัฒนา Website หรือ Web App ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

·        ช่วยทำให้การ organize, reuse และ maintain code ทำได้ดีมากขึ้น

·        ช่วพัฒนาการทำงาน เนื่องจาก Web App ที่ทำงานบน Framework สามารถขยายขอบเขตงานได้

·        ช่วยให้ Developer ลดความกังวลเรื่อง Security ในระดับต่ำของเว็บไซต์

·        มีรูปแบบตาม MVC (Model-View-Controller) จึงทำให้แน่ใจว่าส่วนของ Presentation และ Logic แยกออกจากกัน

·        ส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาเว็บไซต์สมัยใหม่ เช่น Object-oriented Programming Tools

 

1. Laravel

แม้ว่า Laravel จะเป็น PHP Framework ที่ค่อนข้างใหม่ แต่ก็ได้รับความนิยมมากในหมู่ Developer ซึ่ง Laravel มีระบบ  ecosystem ขนาดใหญ่พร้อมด้วย instant hosting และ deployment platform นอกจากนี้ใน Official website ก็มี Screencast Tutorials เรียกว่า Laracasts ให้ดูมากมาย ข้อดีอื่นๆ ก็คือ มี Feature มากมายที่ช่วยให้การพัฒนา Application ได้อย่างรวดเร็ว มี Templating engine ที่น้ำหนักเบาเรียกว่า "Blade" มี Syntax ที่ช่วยให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น Authentication, Sessions, Queueing, Caching และ RESTful routing รวมถึง  Local Development Environment ที่เรียกว่า  Homestead ซึ่งเป็น Vagrant box

 

2. Symfony

หลาย Components ใน Symfony 2 ถูกใช้โดย Project ที่น่าทึ่งหลายอย่าง เช่น ระบบ Content Management System ใน Drupal หรือใน phpBB software นอกจากนี้ยังมี Community ของ Developer และผู้ที่สนใจติดตามอีกมากมาย สำหรับ Components ของ Symfony เป็น PHP Libraries ที่สามารถนำมา Reuse ได้ อย่างเช่น Form creation, Object configuration, Routing, Authentication, Templating และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถติดตั้ง Components ด้วยเครื่องมือ Composer PHP dependency manager และในเว็บไซต์ของ Symfony ก็มีส่วนของ Showcase ที่น่าสนใจซึ่งคุณจะได้เห็น Project ของ Developer คนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จด้วยการใช้งาน Framework นี้

 

3. CodeIgniter

CodeIgniter เป็น PHP framework ที่ใช้กันมายาวนานนับ 10 ปี มีขั้นตอนการติดตั้งไม่ซับซ้อนเพียงใช้การ Configuration เล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งช่วยลดความยุ่งยากไปได้มาก นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งใน Version ของ PHP รวมทั้งยังทำงานได้ดี ทั้งใน Shared และ Dedicated Hosting Platform (ปัจจุบันใช้กับ PHP 5.2.4) CodeIgniter ไม่ได้จำกัดการใช้งานบน MVC pattern สำหรับการใช้ Controller Class เป็นสิ่งจำเป็น แต่ Models และ Views ก็ถือเป็นตัวเลือก และคุณก็สามารถ Code และตั้งชื่อในแบบที่ต้องการได้ ซึ่งนี่เป็นหลักฐานว่า CodeIgniter ให้อิสระแก่ Developer เป็นอย่างมาก คุณสามารถดาวน์โหลด มันได้ในขนาดเพียงแค่ 2MB เท่านั้น ทำให้ประหยัดพื้นที่มากๆ และคุณสามารถเพิ่ม Plugin อื่นๆ ได้ หากต้องการฟังก์ชันที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

 

4. Yii 2

หากคุณเลือก Yii Framework คุณจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของคุณได้เร็วกว่า PHP Framework อื่นๆ เนื่องจากใช้เทคนิค Lazy Loading สำหรับ Yii 2 นั้นเป็น Object-Oriented อย่างแท้จริง และอิงตาม Concept การเขียน Code อย่าง DRY (Don’t Repeat Yourself) ดังนั้น จึงทำให้ Codebase ของคุณ Clean และมี Logic มากยิ่งขึ้น Yii 2 ถูกรวมเข้ากับ jQuery และมาพร้อมกับ Feature ที่เปิดใช้งาน AJAX และมีกลไกการจัดองค์ประกอบที่ง่ายต่อการใช้งานเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มี Background มาจาก Frontend นอกจากนี้ยังมี Class Code Generator  ที่เรียกว่า Gii ซึ่งอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม Object-Oriented และสร้าง Prototype อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมี Interface บนเว็บที่ช่วยให้คุณสามารถสร้าง Code ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. Phalcon

Phalcon Framework เริ่มมีการใช้งานในปี 2012 และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในกลุ่ม PHP Developer ส่วนการตั้งชื่อว่า Phalcon ก็เพราะมีความรวดเร็วเหมือนอย่างนกเหยี่ยว คือ มันถูกเขียนในภาษา C และ C++ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในระดับสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ข่าวดีก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษา C เนื่องจากฟังก์ชันการทำงานจะปรากฏเป็น PHP Class ที่พร้อมใช้งานสำหรับ Application ใดๆ สำหรับข้อดีของ Phalcon มีหลายอย่าง ไม่เพียงเพิ่มความเร็วในการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ Phalcon ยังมี Feature เด่นๆ มากมาย เช่น Auto-loader, Asset management, Security, translation, Caching และอื่นๆ อีกมากมาย ถือเป็น Framework ที่ง่ายต่อการใช้งานจริงๆ

 

6. CakePHP

CakePHP มีใช้มากว่า 10 ปีแล้ว (เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2005) แต่ก็ยังเป็น PHP Framework ที่ได้รับความนิยมอยู่ เนื่องจากมีการพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ใน CakePHP 3.0 ซึ่งเป็น Version ล่าสุด มีการเพิ่มการจัดการ Session มีการปรับปรุง Module โดยการแยก Component ต่างๆ ออก และเพิ่มความสามารถในการสร้าง Library แบบ Standalone มากขึ้น เว็บไซต์ของแบรนด์ดังๆ หลายแบรนด์ก็ใช้ Framework ตัวนี้ในการพัฒนาอย่าง เช่น BMW, Hyundai และ Express นี่ถือเป็น Tool ที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้าง Web App. ที่ต้องการการรักษาความปลอดภัยในระดับสูง เนื่องจากมี Feature ด้านความปลอดภัย(แบบ Build-in) มากมาย เช่น Input validation, SQL injection prevention, XSS (cross-site scripting) prevention, CSRF (cross-site request forgery) protection และอื่นๆ อีกมากมาย

 

7. Zend Framework

Zend เป็น PHP Framework ที่มีความเสถียรมากพอสมควร เต็มไปด้วย Option ในการ Configuration มากมาย จึงเหมาะสำหรับ Project ที่มีความซับซ้อนมากกว่า โดย Zend มีพันธมิตร อย่างเช่น IBM, Microsoft, Google และ Adobe ซึ่ง version 3 ที่จะออกมาเร็วๆ นี้ จะได้รับการปรับปรุงให้ใช้งานกับ PHP 7 ได้ แต่จะยังคงรองรับการใช้ PHP 5.5 เป็นต้นไป สำหรับ Zend Framework 2 ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบัน ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับการเข้ารหัส Code, Drag and Drop editor ที่ง่ายต่อการใช้งานโดยรองรับเทคโนโลยี Front-end (HTML, CSS, JavaScript), Instant Online Debugging และ PHP Unit Testing Tools และ Wizard สำหรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล สำหรับ Zend Framework นี้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Agile methodology เพื่อเพิ่มความสะดวกในการพัฒนา Application ที่มีคุณภาพสูงให้กับลูกค้าระดับ Enterprise

 

8. Slim

Slim เป็น PHP Framework ขนาดเล็ก เหมาะกับการพัฒนา App. ที่มีขนาดเล็กๆ ซึ่ง ผู้สร้าง Slim ได้รับแรงบันดาลใจจาก Ruby micro framework ที่เรียกว่า Sinatra สำหรับ Slim มักถูกใช้โดย PHP developer ในการพัฒนา RESTful API และ service พร้อมกับคุณสมบัติต่างๆ เช่น URL routing, Client-side HTTP caching, Session- และ Cookie encryption, และรองรับ “Flash” messages ผ่าน HTTP requests ได้ดี สำหรับ User Guide ก็อ่านง่าย สำหรับ Feature ใหม่ๆ นั้นอยู่ในระหว่างการพัฒนาสำหรับ Slim3 (ตอนนี้ยังเป็น beta version) คุณสามารถดูวีดีโอแนะนำ Slim3 ได้จากที่นี่

 

9. FuelPHP

FuelPHP เป็น Full-stack PHP Framework ที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่เพียงรองรับ MVC pattern เท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบการพัฒนาสู่ HMVC (Hierarchical Model-View-Controller) ในระดับสถาปัตยกรรมอีกด้วย FuelPHP ได้เพิ่ม Class ที่เรียกว่า Presenter (ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่า ViewModel) ระหว่าง Controller และ View layer เพื่อเก็บ Logic ที่จำเป็นในการสร้าง Views สำหรับ FuelPHP เป็นทั้งแบบแยกส่วนและสามารถขยายได้ ดูแลเรื่องความปลอดภัยด้วย Feature ต่างๆ เช่น Input & URI filtering และ Output encoding พร้อมทั้งมี Authentication Framework ของตัวเอง และยังมี Feature อื่นๆ รวมทั้งเอกสารที่มีรายละเอียดต่างๆ

 

10. PHPixie

เรียกได้ว่า PHPixie เป็น Framework น้องใหม่ซึ่งเริ่มต้นใช้มาตั้งแต่ปี 2012 โดยเป้าหมายในการสร้าง Framework ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับเว็บไซต์แบบอ่านอย่างเดียว(read-only websites) สำหรับ PHPixie มีการใช้ Pattern การออกแบบ HMVC เช่นเดียวกับ FuelPHP และสร้างโดยใช้ Component อิสระที่สามารถใช้งานได้โดยปราศจาก Framework นอกจากนี้ Component ของ PHPixie เป็น 100% unit tested และต้องอาศัย Minimum dependencies ส่วนใน Official Website มี Tutorial ที่อ้างอิงว่า คุณสามารถเรียนรู้ Framework นี้ได้ภายในแค่ 30 นาที และใน Blog เองก็มีรายละเอียดเกี่ยวกับ use case ที่มีประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก สำหรับ Feature นั้น คุณสามารถหา Standard ORM (Object-Relational Mapping), Caching, Input validation, Authentication และ Authorization capabilities ได้ และ PHPixie เองยังช่วยให้คุณสามารถใช้ HAML markup language ทำให้สามารถ Migrate Schema และมี Routing system ที่ซับซ้อนอีกด้วย

 

ที่มา: hongkiat.com

 

อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง